ෳซึมเศร้า෴ ต้นเหตุแห่ง ෳการฆ่าตัวตาย෴?


จากสถิติขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ෳคนไทยฆ่าตัวตายมากเป็นอันดับที่ 71 ของโลก෴

     น่าตกใจไม่ใช่น้อยหลังจากที่มีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO-SUPRE 2009 )ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายปีละประมาณ 1 ล้านคน หรือเฉลี่ย 1 คน ในทุกๆ 40 วินาที ในขณะที่ในแต่ละปีมีผู้พยายามฆ่าตัวตายสูงถึง 10-20 ล้านคน และคาดว่าในปี พ.ศ.2563 จะมีคนฆ่าตัวตายสูงถึง 1.5 ล้านคน จนกระทั่งองค์การอนามัยโลกได้เห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้กำหนดให้ในทุกวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี เป็น ෳวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)෴ โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2546

โรคซึมเศร้า ปัจจัยสำคัญสู่การฆ่าตัวตาย
     จากการรวบรวมสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในปี พ.ศ.2550 ตามใบมรณบัตรที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทยพบว่า มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 3,458 คน โดยผู้หญิงมีแนวโน้มในการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายสามารถฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ 90% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จคือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้นจำนวนที่พบก็ยิ่งสูงตามไปด้วย ส่วนปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายคาดว่ามีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของเพศหญิง ประกอบกับผู้หญิงในปัจจุบันมีหน้าที่และความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องรับภาระทั้งการทำงานนอกบ้านและในบ้าน จึงเกิดความเครียดได้ง่ายและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด

ลักษณะอาการของโรคซึมเศร้า
     แม้ว่าภาวะซึมเศร้าจะเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อต้องประสบกับความเครียด ได้รับความกดดัน หรือรู้สึกสูญเสีย และสามารถหายได้เอง แต่หากภาวะซึมเศร้านั้นมีมากหรือรุนแรงก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและด้านอารมณ์ โดยอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ไม่มีสมาธิ ฉุนเฉียว โกรธง่าย อารมณ์แปรปรวน เศร้าซึม ร้องไห้ รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า จนนำไปสู่ความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้ ซึ่งอาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการก็ได้

ซึมเศร้าแบบไหนอันตราย
     ในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าบางรายอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่แสดงออกให้คนใกล้ชิดรู้ว่าเขากำลังมีปัญหา แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกเข้าใจผิดคิดว่าผู้ป่วยเรียกร้องความสนใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วพฤติกรรมเหล่านั้นคือการขอความช่วยเหลืออย่างหนึ่ง อีกทั้งเป็นสัญญาณอันตรายที่คนใกล้ชิดควรจะต้องรีบเข้าไปดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียได้

      สัญญาณอันตรายจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
     ෵ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับทั้งคืน
     ෵ มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
     ෵ แยกตัวออกจากคนอื่น เก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว
     ෵ ไม่สนใจดูแลตัวเอง
     ෵ พูดถึงอาการเจ็บป่วย ทั้งที่ไม่ได้ป่วยจริงๆ
     ෵ มีความสนใจหรือพูดถึงเรื่องความตาย
     ෵ เริ่มมอบของสะสมหรือของรักให้คนอื่น
     ෵ พูดหรือแสดงความรู้สึกว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่
     ෵ อารมณ์เปลี่ยนแปลงเป็นตรงกันข้าม เช่น จากที่เคยซึมเศร้าหรือหงุดหงิดมานาน กลับดูสบายใจอย่างผิดหูผิดตา นั่นแสดงถึงผู้ป่วยอาจมีการตัดสินใจที่แน่นอนแล้วว่าจะฆ่าตัวตาย

     หากสังเกตว่าคนใกล้ตัวของท่านมีพฤติกรรมดังกล่าวไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรจะรีบเข้าไปดูแล พูดให้กำลังใจเพื่อให้คลายความกังวล คลายความเศร้า หรือพาไปออกกำลังกายเพื่อคลายความเครียด นอกจากนี้ยังสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ คลินิกซึมเศร้าตามโรงพยาบาลต่างๆ หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1667 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

     ไม่ว่าจะอย่างไร การได้รับความรัก ความเข้าใจ และการดูแลจากคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว ถือเป็นยาขนานวิเศษที่สุดสำหรับทุกคน

วิธีคลายเครียดด้วยตัวเอง
     กรมสุขภาพจิตได้ให้คำแนะนำสำหรับการคลายเครียดด้วยตนเองไว้ดังนี้

     ෵ การฝึกเกร็งกล้ามเนื้อ โดยการนั่งในท่าสบาย เกร็งกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วคลายออก ทำซ้ำประมาณ 10-15 ครั้ง จากนั้นจึงเปลี่ยนไปทำในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ยืดอก หลัง ไหล่ แล้วคลายออกพร้อมหายใจออก ขมวดคิ้วเข้าหากันหรือเลิกคิ้วขึ้นสูงแล้วคลาย แขม่วท้อง กระดกปลายเท้าขึ้นแล้วเกร็งขาทั้งสองข้างแล้วคลายออก วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับรู้ถึงความเครียดของการเกร็งกล้ามเนื้อและรู้สึกสบายเมื่อคลายออก

      ෵ การฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม หายใจเข้าช้าๆ ให้หน้าท้องพองขึ้นกลั้นหายใจไว้ชั่วครู่แล้วหายใจออกช้าๆ จนหน้าท้องยุบลง เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น

      ෵ การทำสมาธิเบื้องต้น จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก จะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นและสามารถขจัดความเครียดและความวิตกกังวลได้

ที่มา : http://healthtoday.net

วันที่ 20 มีนาคม 2553