ทำความเข้าใจโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล


 

ตามหามาตรฐานโรงพยาบาลไทย

 เมื่อความคิดที่ว่า ෳโรงพยาบาลคือที่พึ่งอันอุ่นใจ෴ สั่นคลอน ผู้คนเริ่มไม่แน่ใจประสิทธิภาพของโรงพยาบาล เพราะมีคำถามว่า ෳจะปลอดภัยไหม෴
 นิตยสารชีวจิตจึงรับหน้าที่ตามหามาตรฐานโรงพยาบาลไทยมาบอกกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้โรงพยาบาลไทยอีกครั้ง
ทำความเข้าใจโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
 ผลการวิจัยจากต่างประเทศ พบว่า แม้ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังไม่สามารถลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้เหลือศูนย์ได้ ทำได้เพียงควบคุมอัตราการติดเชื้อให้อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจได้เท่านั้น
 นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำหน่วยโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวไว้ในรายงานการวิจัยเรื่อง ෳการควบคุมการติดเชื้อและการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล෴ ว่า
 ෳการติดเชื้อในโรงพยาบาลในอนาคต มีอัตราว่าจะสูงขึ้นเป็นลำดับ
 ෳเนื่องจาก ปัจจัยในตัวผู้ป่วย ที่มีแต่จะอ่อนแอลง จนมีโอกาสรับเชื้อและติดเชื้อเพิ่มขึ้น
 ෳประกอบกับปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่มีฤทธิ์กว้างอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยามากขึ้น
 ෳดังนั้น ถ้าไม่ควบคุมการใช้ยาเหล่านี้ให้ดี ปัญหาเชื้อดื้อยาจะกลายเป็นปัญหาหลักในเรื่องการติดเชื้อของผู้ป่วย
 ෳนอกจากนั้น เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจ หรือรักษาโดยการสอดใส่เข้าร่างกายผู้ป่วยก็มีมากขึ้น ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ก็มีส่วนเอื้อให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
 ෳส่วนเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเชื้อประจำถิ่น หรือเชื้อที่พบในร่างกายของผู้ป่วยเอง มีน้อยมากที่เกิดจากผู้ป่วยอื่น บุคลากรทางการแพทย์ หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อที่มักก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด คือเชื้อแบคทีเรีย
 ෳโดยการรักษาที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อบ่อยที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
1. การใส่สายสวนปัสสาวะ
2. การผ่าตัด
3. การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ෳอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการติดเชื้อในโรงพยาบาลจะควบคุมให้ไม่มีอัตราการเกิดเลยไม่ได้
แต่ก็มั่นใจได้ว่า ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ที่ได้มาจากงานวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถนำมาปรับใช้ให้สถานการณ์การติดเชื้อลดลงได้อย่างแน่นอน෴

โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล คืออะไร
 คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ หรือรักษาในโรงพยาบาล
 และหมายรวมถึง การติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ ญาติผู้ป่วย ตลอดจนผู้มาติดต่อธุระกับทางโรงพยาบาลด้วย
เช็คมาตรฐานโรงพยาบาลไทย
 การติดเชื้อ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การวางมาตรการป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นภารกิจเร่งด่วน ที่การสาธารณสุขไทยให้ความสำคัญ
 3 ปัจจัยหลักต้องควบคุม
 นายแพทย์พรเพชร ปัญจปิยะกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
 ෳหัวใจสำคัญของมาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล คือการคุม 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. เชื้อโรค
2. ผู้ป่วย
3. สิ่งแวดล้อม
ෳโดยทั้ง 3 ปัจจัยเกี่ยวข้องกัน หากควบคุมไม่ได้เพียงประการใดประการหนึ่งก็อาจทำ
ให้เกิดการติดเชื้อได้

 ทีมดูแลการติดเชื้อในโรงพยาบาล
นายแพทย์พรเพชร กล่าวเพิ่มเติมว่า ෳปัจจุบัน เราได้กำหนดให้โรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลมีระบบตรวจจับความผิดปกติ และเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล
 ෳโดยจัดให้มีคณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้บริหารของโรงพยาบาลนั้น แพทย์ผู้เชื่ยวชาญด้านระบาดวิทยา และพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ
ෳคณะกรรมการนี้ จะทำงานร่วมกันในการสังเกตการณ์ หากมีผู้ป่วยคนไหนต้องสงสัยว่าเกิดอาการติดเชื้อระหว่างเข้ามารักษาในโรงพยาบาลก็จะรีบแยกผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และรักษาอย่างเร่งด่วนต่อไป෴ 
ล้อมกรอบ 2 พัฒนาการวิธีป้องกันการติดเชื้อ

การดูแลและป้องกัน
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้ลดน้อยลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น ไม่เพียงต้องอาศัยความใส่ใจของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงพยาบาล และหน่วยงานต่างๆที่คอยสอดส่อง ดูแล ควบคุมมาตรฐานเท่านั้น
 ผู้ป่วยก็มีส่วนช่วยอีกแรงหนึ่ง ให้ภารกิจดังกล่าวประสบประสิทธิผลด้วย

 ป้องกันกาตติดเชื้อด้วยตัวคุณเอง
  นายแพทย์วิวัฒน์ วิริยกิจจา รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกวิธีง่ายๆเพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อว่า
෵ หากต้องผ่าตัด หรือเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน ควรมองหาโรงพยาบาลที่ผ่านมาตรฐานการรับรองคุณภาพ อย่าง HA. Hospital Accreditation
෵ ถ้าเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ควรพักผ่อน ดูอาการอยู่ที่บ้านก่อน ไม่ควรไปโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ร่างกายได้รับเชื้อรุนแรงขึ้น
෵ ควรไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอก่อน ถ้าไม่หายจึงไปโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
෵ หลังจากรับการรักษา หรือสัมผัสกับเครื่องมืออุปกรณ์ใดๆในโรงพยาบาลควรล้างมือทุกครั้ง

ติดเชื้อแล้ว ทำอย่างไร
 นายแพทย์ประทีป ธนากิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนะนำขั้นตอนการร้องเรียน ดังนี้
ෳผู้ป่วยหรือญาติสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ ณ โรงพยาบาลที่เข้ารักษา สาธารณสุขจังหวัด หรือที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขตที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่
ෳเมื่อได้รับเรื่องแล้ว หน่วยงานนั้นๆก็จะรวบรวมข้อมูลให้คณะอนุกรรมการพิจารณาการช่วยเหลือเบื้องต้นที่มีอยู่ทุกจังหวัด จากนั้นจึงมีมติให้เงินช่วยเหลือ
 ෳนอกจากนั้น ผู้ป่วยบัตรทองที่มีปัญหาสุขภาพตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 แล้วเกิดการติดเชื้อระหว่างรักษาในโรงพยาบาล สามารถรับการช่วยเหลือได้เลยโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิด

 ෳการช่วยเหลือแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.ทุพลภาพ ทำอะไรไม่ได้ ช่วยเหลือเบื้องต้นรายละไม่เกิน 200,000 บาท
2.สูญเสียอวัยวะพิการ ช่วยเหลือเบื้องต้นไม่เกินรายละ 120,000บาท
3.เจ็บป่วยถาวร หรือเรื้อรัง ช่วยเหลือไม่เกิน 50,000෴
 ทราบอย่างนี้แล้ว ก็แน่ใจได้แล้วนะคะว่า โรงพยาบาลยังคงเป็นที่พึ่งอันอุ่นใจเคียงคู่ประชาชนอยู่เสมอ
 แต่ถึงอย่างไร การไม่มีโรคก็ยังคงเป็นลาภอันประเสริฐ หมั่นดูแลตัวเองกันดีกว่านะคะ

ที่มา:นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 275

วันที่ 22 มีนาคม 2553