คุณแน่ใจเหรอว่ารู้จัก ෳอาหาร෴ ดีแล้ว?


คุณแน่ใจเหรอว่ารู้จัก อาหารดีแล้ว?

          ใช่ คุณกินอาหารอยู่ทุกวัน แต่ถ้าคุณแค่รู้จักอาหารในฐานะ Food อย่าง หมูหัน เป็ดปักกิ่ง ข้าวมันไก่ เท่านั้น ก็นับว่าความรู้เรื่องอาหารของคุณยังน้อยมากนะ

          ข้าว ปลา หมูเห็ดเป็ดไก่ คืออาหาร (Food) ต่อเมื่อมันยังไม่ถูกส่ง

 

เข้าปากเรา แต่พอคุณกินเข้าไปแล้ว อาหารเหล่านี้จะถูกกระบวนการย่อย เปลี่ยนสภาพของอาหารตั้งแต่อยู่ในปากและเคลื่อนจากปากสู่กระเพาะ จากกระเพาะสู่ลำไส้เล็ก ที่ลำไส้เล็กนี่เองที่อาหารจะเปลี่ยนสภาพจากอาหาร (Food) เป็น Nutrient อย่างสมบูรณ์Food) Nutrient

Food) Nutrient

 

          แล้วก็อาหารในฐานะ Nutrient หรือสารอาหารนี่แหละ ที่มีหน้าที่บำรุงเลี้ยงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และเป็นยารักษาโรคด้วย  ประโยชน์ของอาหารตรงนี้เองที่ตรงตามที่ ฮิปโปเครติส บิดาของวงการแพทย์กล่าวไว้เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้วว่า

 เจ้ากินอะไรเข้าไป เจ้าก็เป็นอย่างนั้น෴ You are what you eat

  ถ้าเรากินสิ่งที่ดีมีประโยชน์เข้าไป ร่างกายของเราก็ดีตาม 

 ถ้ากินของเน่า (แต่อร่อย) ร่างกายก็เน่า (เจ็บป่วย) ตามไปด้วย
           เพราะอาหารที่ไม่ดี (ซึ่งชีวจิตแนะนำให้งด) เมื่อเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากๆเกินพอดี ก็จะกลายสภาพเป็น ท็อกซิน - Toxin ในที่สุดทีนี้เมื่อท็อกซินหรือสารพิษสะสมในร่างกายนานๆเข้า ก็จะขัดขวางการทำงานของ ภูมิชีวิต และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆนั่นเอ

        เหมือนอย่างที่คนสมัยนี้ใช้ ลิ้นเป็นเครื่องตัดสินคุณค่าของอาหาร คำนึงถึงแต่ความอร่อยมากเกินไป ลืมนึกถึงคุณประโยชน์หรือโทษจากอาหาร จะพบว่าเราต้องเจ็บป่วยกันด้วยโรคที่เกิดจากการกินอาหารผิดสัดส่วนเพิ่มขึ้นทุกที เห็นชัดๆก็อย่างเช่น

  • กินแป้ง น้ำตาล มากเกินไป เป็นเบาหวาน 
  • กินเค็มเกินไป เป็นโรคไต 
  • กินไขมันมากเกินไป เป็นไขมันอุดตันในเส้นเลือด

     

คราวนี้คุณพอจะรู้จัก อาหารที่กินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันได้กระจ่างขึ้นบ้างหรือยังล่ะ 

            อาหารชีวจิตเป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่ ดร.สาทิส อินทรกำแหง ศึกษาและปรับปรุงจากหลักการของแมคโครไบโอติกส์ ให้เหมาะสมกับสภาพวิถีชีวิตของคนไทยและเมืองไทยและให้ง่ายต่อการจัดหา ปรุง และรับประทาน 

           กล่าวโดยรวมๆ อาหารชีวจิต คือ อาหารชั้นเดียว หมายถึง เป็นอาหารที่คงสภาพตามธรรมชาติเดิมไว้มากที่สุด ไม่ต้องผ่านการปรุงแต่งมากมาย และคงรสชาติเดิมๆของอาหารไว้มากที่สุด
เช่นว่า  
ข้าว ก็เพียงแค่กระเทาะเปลือกออกกลายเป็นข้าวกล้อง ไม่ต้องขัดสีจนขาวจั๊วะ

          ทั้งนี้ อาหารชีวจิตไม่เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อหรือบาปบุญคุณโทษ แต่เป็นการนำความรู้ทางโภชนาการขั้นสูงมาพิจารณาอาหารต่างๆ แล้วเลือกสรรเฉพาะอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายและจิตใจมากที่สุด ที่สำคัญเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดสารพิษ "ท็อกซิน - Toxin" ตกค้างน้อยที่สุด

อาหารที่ชีวจิตแนะนำให้ "งด"

  •  เนื้อสัตว์ย่อยยาก ได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ 
  • แป้งขัดขาวและผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาวทุกชนิด 
  • น้ำตาลฟอกขาวและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลฟอกขาวทุกชนิด
  • ไขมันเลว คือไขมันอิ่มตัว ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และกะทิ 
  • และแนะนำให้รับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้สมดุลตาม สูตรสัดส่วนอาหารชีวจิต

               อย่างไรก็ตาม อาหารชีวจิตนั้นนอกจากคำนึงถึงคุณประโยชน์แล้ว ยังให้ความสำคัญกับความอร่อย และต้องน่ากินด้วย คือ ถึงแม้รสชาติจะไม่จัดจ้านเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด แต่เราเน้นความกลมกล่อมแบบพอดีๆ

       ถ้าคุณยังนึกภาพเมนูอาหารชีวจิตไม่ได้ ลองดูที่ ครัวชีวจิต หรือตำราอาหารชีวจิต   ในหมู่ชาวชีวจิตเราพูดกันเสมอว่า การทำอาหารให้อร่อยนั้น ไม่ได้ยากเกินไป เพียงแต่ต้องใช้ฝีมือ ใช้ความรัก และความสนใจของแต่ละคน เรียกว่า "ทำและกินด้วยความรักและนับถือ"

        ความรักนั้นคือ ความรักอาหาร และรักในการทำอาหาร มีความสนุกและเพลิดเพลินในการทำและกิน      ส่วนความนับถือนั้น เราต้องนับถือว่า อาหารนี้แหละคือสิ่งที่ให้ชีวิตแก่เรา และจะกลายเป็นเลือดเป็นเนื้อของเราเอง
    เราเป็นหนี้บุญคุณของอาหาร

    1.        อาหารประเภทแป้งซึ่งไม่ขัดขาว
    o        เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นข้าวโพดทั้งเมล็ดหรือทั้งฝัก และถ้าเป็นแป้งขนมปัง ก็เป็นขนมปังโฮลวีท และถ้าจะให้เป็นแป้งกลุ่มคอมเพล็กซ์ คาร์โบไฮเดรต คือเป็นแป้งหลายชั้นซึ่งมีโปรตีนปนอยู่ด้วย ก็ควรเติมมันเทศ มันฝรั่ง เผือก ฟักทองลงไป
    o        กลุ่มนี้ รับประทาน 50% หรือครึ่งหนึ่งของแต่ละมื้อ

    2.        ผัก
    o        ใช้ทั้งผักดิบและผักปรุงสุกอย่างละครึ่ง ผักถ้าปลูกเอง ไม่ใช้สารเคมีจะดีที่สุด แต่ถ้าต้องซื้อจากตลาด ต้องเลือกผักที่ปลอดสาร ล้างผ่านน้ำ และแช่น้ำด่างทับทิมหรือแช่น้ำส้มสายชูเจือจางสัก 1-2 ชั่วโมง ก็จะช่วยล้างสารพิษได้ด้วย
    o        รับประทานผักหนึ่งในสี่หรือ 25% ของปริมาณอาหารที่กินในแต่ละมื้อ

    3.        ถั่วต่างๆ อยู่ในประเภทโปรตีน
    o        เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร
    o        รับประทาน 15% ของแต่ละมื้อ
    o        นอกจากนี้ จะใช้โปรตีนจากสัตว์เป็นครั้งคราว คือ ไข่ ปลา และอาหารทะเล สัปดาห์ละ 1-2 มื้อ

    4.        เบ็ดเตล็ด
    o        ประเภทแกงก็เป็น แกงจืด แกงเลียง
    o        ประเภทซุป ก็เป็นมิโซ่ซุป (มิโซ่ = เต้าเจี้ยวญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง)
    o        ประเภทของขบเคี้ยว งาสดและงาคั่ว ใช้โปรอาหารต่างๆได้ทุกอย่าง ถั่วคั่ว เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม เมล็ดดอกทานตะวัน
    o        ผลไม้สด ต้องเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอห่าม มะม่วงดิบ พุทรา
    o        รับประทาน 10% ของแต่ละมื้อ

     

 

ที่มา http://www.cheewajit.com/food.asp