โรคหมอทำ...อุบัติเหตุทางการแพทย์


โรคหมอทำ...อุบัติเหตุทางการแพทย์

   ความผิดพลาดจากการรักษา เกิดได้จาก 2 ส่วน คือ ความผิดพลาดของแพทย์ และความผิดพลาดของผู้ป่วย

1.ความผิดพลาดของแพทย์ แบ่งเป็นสาเหตุหลักๆ ได้ 2 เรื่อง

1.1 การวินิจัยโรคผิด มีสาเหตุ คือ หนึ่ง แพทย์ได้ประวัติไม่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแพทย์ไม่มีเวลาในการซักหรือสอบถามประวัติโดยละเอียดรอบคอบ สอง เกิดจากแพทย์ไม่ได้ตรวจร่างกายอย่างละเอียดรอบคอบ หรือไม่ได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างเหมาะสม สาม เกิดจากโรคยังคลุมเครือ เช่น คนเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่ไส้ติ่งของคนไข้ไปแอบซ่อนอยู่หลังลำไส้ใหญ่ ทำให้ตรวจบริเวณหน้าท้องแล้วอาจจะคลุมเครือ ทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้

1.2 ด้านการรักษาที่ผิดพลาด อาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่น หนึ่ง แพทย์ขาดความรู้ความชำนาญในโรคที่รักษา เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์มีการพัฒนาไปมาก จนเป็นไปไม่ได้ที่แพทย์คนใดคนหนึ่งจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญทุกแขนง ก็ย่อมทำให้เกิดความผิดพลาดในการรักษาได้ สอง การวินิจฉัยล่าช้า แม้อยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญ สาม อาจเกิดจากระบบของโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งที่อาจบ่ายเบี่ยงการรักษาในกรณีผู้ป่วยประกันสังคมหรือผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งโรงพยาบาลได้เงินแบบเหมาจ่ายไปแล้ว จึงพยายามคุมค่าใช้จ่ายในการรักษา สี่ ความผิดพลาดที่เป็นเหตุสุดวิสัย ทั้งด้านของเทคโนโลยี เครื่องมือ

2. ด้านของคนไข้ การบอกประวัติการรักษาไม่ครบ ด้วยความไม่รอบคอบ ไม่รู้ และความอาย ทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดพลาด

แพ้ยา...จนตาบอด

   ෳก่อนหน้านี้ป้าเคยแพ้ยาซัลฟา ฉีดแล้วผิวมันพองขึ้นมาเลย แต่หมอช่วยไว้ทัน หมอให้ยาให้น้ำเกลือ มาครั้งนี้หมอบอกป้าว่าคออักเสบต้องฉีดยา ป้าเลยกำชับหมอว่า ෱คุณหมออย่าลืมนะว่าหนูแพ้ยาซัลฟาෲ แล้วหมอก็เขียนใบสั่งยา ให้ภรรยาซึ่งเป็นพยาบาลเป็นคนฉีด ป้าเห็นเขาผสมตัวยา 3 ตัวนะ ก็ไม่รู้ว่าอะไร พอฉีดเสร็จขาชาจนเดินไม่ได้ เขาก็ให้ป้าไปนอนพักครึ่งชั่วโมงก็พอเดินได้ ป้าก็กลับไปทำงานต่อ෴

   คุณป้าดอกรัก เพชรประเสริฐ เป็นพนักงานทำความสะอาดของห้างแห่งหนึ่ง เธอเล่าต่อว่า ขณะทำงานก็มีอาการใจสั่น อ่อนเพลียแต่ก็คิดว่าเป็นเพราะพิษไข้จึงอดทนกินยาแก้ปวดต่อไป จนรุ่งเช้าตื่นมา พบว่ากระพุ้งแก้มในปากยุ่ยออก เนื้ออ่อนที่ต้นแขนพองเหมือนโดนเตารีดนาบ ส่วนที่ตาก็มีน้ำสีเหลืองไหลซึมออกมา เมื่อพบคุณหมอจึงบอกอาการ ประวัติการรักษาว่าตนเพิ่งไปฉีดยามาเมื่อวาน สงสัยว่าจะแพ้ยา แต่หมอวินิจฉัยว่าไม่ใช่การแพ้ยาเป็นเพียงแค่พิษไข้ ส่วนตาเป็นแค่การอักเสบ เมื่อกลับถึงบ้านคุณป้าดอกรักกลับพบว่าอาการของตนเองทรุดหนักลงปวดแสบปวดร้อนไปทั้งตัว และอาเจียนเป็นเลือด สุดท้ายเมื่อกลับไปถึงโรงพยาบาลอีกครั้ง หมอรับตัวไว้แต่ยังไม่ทำการรักษาเพราะต้องการรอหมอจากคลินิกซึ่งเป็นผู้ฉีดยาให้มาตรวจรักษา จนอาการคุณป้าดอกรักทรุดหนักจนต้องนำเข้าห้องไอซียู

   9 ปีแล้วที่พิษร้ายจากการฉีดยาผิดทำให้กระจกตาของคุณป้าดอกรักทะลุ ท่อน้ำตาตัน ท่อน้ำลายตัน ปอดแฟบไปข้างหนึ่ง ลำไส้บวม คุณป้าดอกรักต้องทรมานอยู่ในโลกมืดอย่างอ่อนแรงกับลูกสาววัย 11 ปี ซึ่งทำหน้าที่ลูกอย่างแข็งขันทั้งจูงแม่ตาบอดขึ้นรถเมลย์ไปหาหมอ ทั้งตั้งใจเล่าเรียนเพื่อให้แม่ชื่นใจ โดยทั้งคู่ไม่มีใครจุนเจือรายได้เลย มีเพียงเงินก้อนเล็กๆที่ได้จากการชนะคดีซึ่งเทียบไม่ได้กับชีวิตและอนาคตที่เหลืออยู่ของคนทั้งคู่เลย

ป้าดอกรักฝากถึงหมอและผู้อ่าน

   ෳป้าไม่เคยคิดฟ้องร้องหมอเลยนะ อยากได้คำขอโทษจากหมอแค่นั้น ตอนป้าไปหาหมอก็ฝากความหวังไว้กับหมอ เพราะเราไม่ใช่คนเรียนหนังสือมาเยอะ แต่หมอเรียนมา หมอเอาหลักการมารักษาคนไข้ แต่หมอก็ต้องฟังคนไข้ด้วยนะ ถ้าไม่ฟังคนไข้มันจะเกิดความผิดพลาดได้มาก ෳสำหรับตัวป้าก็ได้คิดว่า หนึ่ง เราไม่ควรนิ่งนอนใจ อย่าห่วงงานมากกว่าสุขภาพ กรณีป้าถ้ารีบรักษาทันที ไม่ปล่อยข้ามคืนข้ามวันนะ ป้าจะไม่เป็นอย่างนี้เลย สอง ถ้าเราแพ้ยาต้องแจ้งหมอพยาบาลทุกครั้งนะ ถ้าเขาจะฉีดยาต้องถามย้ำให้แน่ใจเสียก่อนว่าไม่ใช่ตัวยาที่เราแพ้෴

ที่มา :http://www.cheewajit.com/highlight.asp