FAQ
คำถามที่พบบ่อย

ตอบคำถามที่พบบ่อย

A : "อาสาสร้างสุข" เป็นกลุ่มคนซึ่งมีจิตใจดีและอยากที่จะเห็นคนที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นมีความสุขและลืมความเจ็บป่วยที่มีอยู่ไปได้ ความจริงแล้วอาสาสร้างสุขในโรงพยาบาลนั้น มีความหมายเหมือนคำว่า อาสาสมัครทั่วไปเพียงแต่ การทำงานต่างสถานที่นั้นทำให้จำกัดความของอาสาสมัครแตกต่างกันออกไป อาสาสร้างสุข คือกลุ่มคนที่เข้ามาสร้างความสุขให้กับผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคร้าย ที่พรากความสุขไปจากพวกเขา รอยยิ้มที่เคยมีกลับเลือนหายไปเพราะความเจ็บปวด การได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกลับต้องถูกจำกัดไว้ด้วยความสมบูรณ์ของร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวย การมีอาสาสมัครสร้างสุขในโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก งานอาสาสร้างสุขในโรงพยาบาลถือได้ว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ในการที่คนเราจะได้แบ่งปันความสุขที่มีนั้นให้กับคนอื่น ให้กับสังคม ให้กับคนที่ต้องการความสุข โดยที่เราไม่ได้หวังว่าสิ่งที่เราได้ทำไปนั้นจะส่งผลตอบแทนกับเราอย่างไร นั่นคือเรามีความเป็นอาสาสมัครสร้างความสุขอยู่ในตัวแล้ว ไม่สำคัญว่าเราจะเป็นใครมาจากไหน หรือเราจะต้องสร้างความสุขให้กับใคร ขอเพียงเรามีใจอาสาและอยากเห็นผู้อื่นมีความสุข นั่นคือหัวใจของคนที่เป็น"อาสาสร้างสุข"นั่นเอง

A : ด้วยภาระหน้าที่ของแพทย์ พยาบาล ที่มีงานล้นมือ เนื่องมาจากโครงการฯ 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้ผู้คนเข้ามารับการรักษากับสถานพยาบาลมากขึ้น คนป่วยมากขึ้น แต่แพทย์ พยาบาล กลับมีเท่าเดิมหรือลดน้อยลง เนื่องจากภาระงานที่หนักทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังส่งผลไปสู่ตัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วย แพทย์ พยาบาล สื่อสารกันน้อยลง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน จนบรรยากาศภายในดูตึงเครียด เพราะขาดการสื่อสารกันอย่างชัดเจน ดังนั้นการมีอาสาสมัครเข้าไปทำกิจกรรมกับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ พยาบาล ได้บ้างบางส่วน และช่วยให้ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดจากอาการป่วย ได้ไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งอาสาสมัครสามารถเป็นตัวเชื่อมระหว่างเจ้าหน้าที่พยาบาลกับผู้ป่วยและ ญาติผู้ป่วยได้สื่อสารและสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นกว่าเดิมได้ อีกด้วย ดังนั้นการมีอาสาสมัครเข้าไปทำกิจกรรมกับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลเรื่องสภาพ จิตใจของผู้ป่วยจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้บ้าง และถือเป็นช่องทางในการเปิดโอกาสให้กับบุคคลทั่วไปที่อยากทำประโยชน์คืนสู่ สังคม อยากร่วมแบ่งปันความสุขให้กับคนอื่น ได้มีพื้นที่ในการทำสิ่งเหล่านี้

A : เตรียมความพร้อมทางด้านสภาพร่างกายและจิตใจ เป็นการตรวจดูว่าเรามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้ ป่วย สังเกตดูว่าเราไม่สบายเป็นไข้หรือเป็นหวัดรึเปล่า ทางด้านสภาพจิตใจของเราก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเรามีสภาวะความเครียดทางด้านจิตใจ บางครั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมาแสดงออก กับผู้ป่วยก็ได้

  • การแต่งกาย ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
  • ควรทานข้าวให้เรียบร้อยก่อนออกไปทำกิจกรรมร่วม
  • ความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ที่ต้องการนำไปทำกิจกรรม
  • ความพร้อมด้านหลักฐานเพื่อแสดงตนในการลงพื้นที่ทำกิจกรรม
  • ความพร้อมด้านเวลา ในการทำกิจกรรม ควรมีระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนในการลงพื้นที่แต่ละครั้ง

A : ผู้ที่สนใจสมัครเข้าเป็นอาสาสมัคร จำเป็นจะต้องมาลงทะเบียนอาสาสมัครด้วยตัวเองอย่างน้อย 1 อาทิตย์ก่อนการลงพื้นที่ ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่ทาง โรงพยาบาลกำหนดไว้ สำหรับการตรวจสอบหลักฐานการสมัครของอาสาสมัครใหม่

หลักฐานในการสมัคร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรนักเรียน นักศึกษา
  • รูปถ่ายหน้าตรง 1 นิ้วจำนวน 2 ใบ

A : การเข้ามาเป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาล ไม่ได้มีข้อบังคับว่าจะต้องมาทำทุกครั้งที่มีการลงพื้นที่ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจและเวลาว่างของตัวอาสาสมัครเอง ว่าจะสะดวกมาลงพื้นที่วันไหนและระยะเวลาเท่าไหร่ เพราะคำว่า อาสาสมัคร คือ การทำด้วยความสมัครใจ จึงไม่มีข้อบังคับในการลงพื้นที่

A : กิจกรรมที่นำไปทำกับผู้ป่วยจะเน้นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย แต่ได้ความสุขเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมที่ทำก็จะเป็น การใช้ศิลปะบำบัด งานประดิษฐ์ การอ่านหนังสือ การเล่าเรื่อง การสัมผัสและพูดคุย เป็นต้น

A : การทำกิจกรรมจะช่วยส่งผลทางด้านกายภาพให้กับผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยจะได้ขยับมือ แขน ขา ไปกับกิจกรรมที่ได้ทำ มีผลทำให้ร่างกายแข็งแรงเร็วขึ้นและสามารถกลับบ้านได้เร็วกว่าที่กำหนด ทางด้านจิตใจ กิจกรรมสามารถช่วยพัฒนาจิตใจของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า ตึงเครียด และอารมณ์รุนแรงจากการที่ต้องอยู่โรงพยาบาล นานๆ ให้กลับมาสดใส ร่าเริง มีชีวิตชีวาเหมือนคนทั่วไปได้ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นก็จะส่งผลต่อสภาพร่างกายด้วย อีกทั้งยังช่วยให้แพทย์รักษาผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นและสามารถรักษาได้อย่างตรง จุด เนื่องจากผู้ป่วยเริ่มให้ความร่วมมือกับแพทย์เป็นอย่างดี

A : ตอบตามลักษณะอาการของผู้ป่วย ตามสถานที่ ร่วมกิจกรรม ( เรื่องเฉพาะแล้วแต่พื้นที่ )

A : เป็นเรื่องเฉพาะ ในการทำกิจกรรมแล้วแต่สถานที่ อาจมีจำนวนมากน้อย แล้วแต่ผู้ป่วยเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล

A : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะมีญาติมาเฝ้า แต่บางคนก็จะไม่มี เนื่องด้วยหน้าที่การงานที่ต้องทำหาเลี้ยงชีพ ซึ่งถ้ามองโดยรวมแล้วถึงแม้ว่าจะมีหรือไม่มีญาติมาเฝ้า ผู้ป่วยก็ต้องการหากิจกรรมที่แปลกใหม่ทำ นอกจากนอนอยู่แต่บนเตียง บางทีผู้ป่วยกับญาติก็แทบไม่ได้คุยกัน ไม่ค่อยยิ้มให้กันด้วยซ้ำไป อาจเป็นเพราะบรรยากาศของสถานที่ที่อยู่ทำให้ทุกอย่างดูตึงเครียด ดังนั้นการมีอาสาสมัครเข้าไปทำกิจกรรมด้วย พูดคุยด้วย ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลาย ญาติก็ได้พักผ่อนมากขึ้นมีเวลาทำธุระส่วนตัวมากขึ้น จึงทำให้ทั้งผู้ป่วยและญาติมีจิตใจที่เบิกบาน

A : เรื่องของ เวลา วัน กำหนดตามที่อาสาสมัครได้ตกลง กับผู้รับผิดชอบการทำกิจกรรมของโครงการนั้น ๆ

A : ทำกิจกรรม อาสาสมัครในพื้นที่ โรงพยาบาล ตามที่โครงการได้ระบุ สถานที่ของการทำกิจกรรม

A : ตอบตามความเหมาะสมของสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลที่จะเดินทางมาถึง

A : ตอบตามพื้นที่โครงการได้รับผิดชอบ หรือแนะนำ สถานที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะการทำงานเดียวกัน

A : อาสาสมัครจะรู้ได้ทันทีหลังจาก ลงพื้นที่ทำกิจกรรมว่าอาสาสมัครได้รับอะไรบ้างจากการได้ทำกิจกรรมกับผู้ป่วย อาสาสมัครจะเกิดความเข้าใจงานอาสาสมัครมากขึ้น เกิดความสุขที่ได้แบ่งปันให้กับผู้อื่น เกิดความเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และเข้าใจการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มากกว่าเมื่อก่อนอย่างแน่นอน

A : การเข้ามาเป็นอาสาสมัครใน โรงพยาบาล ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพียงแค่มีใจรักในงานอาสาสมัคร มีความตั้งใจที่ดี ก็สามารถเข้ามาเป็นอาสาสร้างสุขใน โรงพยาบาลได้เลย

A : การที่อาสาสมัครจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ป่วยแต่ละคนมีความทุกข์มากน้อยแค่ไหนนั้นจำเป็นต้องฝึกใช้การสังเกต การพูดคุย และการรับฟังจากตัวผู้ป่วย โดยผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ หากเพียงแต่มองดูก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ป่วยคนนี้มีความทุกข์มากมายแค่ ไหน บางคนมีแผลทั่วร่างกาย ลงจากเตียงได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยคนนั้นจะมีความทุกข์หนักกว่าผู้ป่วยอีกคนที่ ดูปกติและสามารถลงจากเตียงได้ จะสามารถรู้ได้จากการได้เข้าไปพูดคุยและสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ป่วย จึงจะทราบได้ว่าผู้ป่วยแต่ละคนมีความทุกข์ต่างกันอย่างไรบ้าง

A : หากอาสาสมัครมีความสนใจในการร่วมแบ่งปันความสุขให้กับผู้ป่วยแต่ติดขัดเรื่องวันเวลาที่ไม่สามารถมาได้ ก็สามารถที่จะร่วมเป็นผู้ให้ เพื่อส่งต่อความสุขให้กับผู้ป่วยได้ โดยการร่วมบริจาคเป็นสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำกิจกรรมได้ หรือบริจาคเป็นเงิน เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ที่สิ้นเปลือง ใช้แล้วหมดไป เป็นต้น และถ้าหากมีเวลาว่างหรือสะดวกวันไหน ซึ่งตรงกับการลงพื้นที่ทำกิจกรรมก็สามารถมาร่วมลงพื้นที่เป็นอาสาสมัคสร้าง สุขในโรงพยาบาลได้เช่นกัน

A : กิจกรรมแต่ละอย่างที่เตรียมไปทำกับผู้ป่วยจะต้องดูว่าเหมาะสมกับตัวผู้ป่วยหรือไม่ส่วน ใหญ่กิจกรรมที่ทำได้ทุกเพศ วัย ก็จะเป็นการใช้ศิลปะบำบัด จินตนาการบำบัด ดนตรีบำบัด งานประดิษฐ์ และการพูดคุย รับฟัง ส่วนกิจกรรมเฉพาะก็จะเป็นกิจกรรมที่ใช้ฝึกพัฒนาการของผู้ป่วย ฝึกทักษะในด้านต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของผู้ป่วยเอง