SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1016

แพทย์เตือนคุณแม่รับมือภาวะครรภ์เสี่ยง


แพทย์เตือนคุณแม่รับมือภาวะครรภ์เสี่ยง

 

 

แพทย์ผู้ชำนาญสาขาทารกแรกเกิด แนะให้คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป รับมือภาวะครรภ์เสี่ยงตั้งแต่ตั้งครรภ์จนหลังคลอด

ภาวะ ෱ครรภ์เสี่ยงෲ หมายถึง แนวโน้มของการเกิดผลกระทบอันเป็นอันตรายต่อมารดาและทารก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุโดยเฉพาะมารดาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยมีประวัติคลอดบุตรยาก เคยแท้งบุตร ผ่าตัดมดลูก รวมถึงสามารถเกิดขึ้นในครรภ์ที่มารดามีโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และทุกครั้งเมื่อพบภาวะครรภ์เสี่ยง สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านครรภ์เสี่ยงจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลการตั้งครรภ์ ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิด (Neonatologist) ตั้งแต่ระหว่างตั้งครรภ์ไปจนหลังคลอด

ศ. พญ.อรดี จันทวสุ กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด  ได้อธิบายว่า เมื่อสูตินรีแพทย์พบว่าเกิดปัญหากับครรภ์หรือทารกในครรภ์ คนไข้จะถูกส่งมาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิด จากนั้นขั้นตอนแรกจะเป็นการร่วมปรึกษาและให้คำแนะนำระหว่างกัน ซึ่งจะมีทั้งแพทย์ คนไข้ และครอบครัวของคนไข้ เพื่อทราบข้อมูลต่าง ๆ ไปพร้อมกัน จนเข้าใจถึงลักษณะของปัญหาและสิ่งที่อาจเกิดขึ้น แล้วขั้นตอนถัดมาคือการร่วมวางแผนของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิดกับสูตินรีแพทย์ สำหรับวิธีการดูแลครรภ์ไปจนถึงการคลอดที่เหมาะสมกับครรภ์นั้น ๆ


การอธิบายภาวะผิดปกติของครรภ์ให้คนไข้และครอบครัวเข้าใจถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะต้องใช้ความละเอียดอ่อน ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง ทั้งช่วยสร้างกำลังใจ และต้องทำให้เขาเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากที่สุด ตลอดจนการแจกแจงแผนการและขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังเด็กออกมาแล้ว ขณะที่สูตินรีแพทย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ หมายถึงโดยรวมแล้วภารกิจการทำคลอดและดูแลภาวะครรภ์เสี่ยงสูงนี้ต้องอาศัยทักษะของการทำงานเป็นทีมที่สมดุล เพราะระหว่างอยู่ในครรภ์ สูตินรีแพทย์จะเป็นฝ่ายลงมือโดยมีเราเป็นผู้สนับสนุน แต่เมื่อเด็กออกมาแล้วหน้าที่ของเราจะกลับกัน นี่คือหลักการดูแลภาวะครรภ์เสี่ยง

นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษทารกแรกเกิด ยังมีหน้าที่รับผิดชอบครอบคลุมถึงกรณีครรภ์ปกติที่ตรวจพบปัญหาในระหว่างการคลอดหรือหลังจากคลอดแล้วด้วย เพราะมีความผิดปกติอันอาจเกิดขึ้นระหว่างคลอดบางชนิดที่ไม่สามารถตรวจพบได้ในระหว่างตั้งครรภ์ เช่นน้ำเดินก่อนกำหนด มีเลือดออก หรือมีขี้เทา(อุจจาระเด็ก)ในน้ำคร่ำ ซึ่งอาจทำให้เด็กสำลัก หัวไม่ลงขณะคลอด หัวใจเต้นผิดปกติ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด โดยอาการเหล่านี้สามารถทำให้เด็กเสียชีวิตได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษจึงต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอแม้ในกรณีของครรภ์ปกติ เพราะเมื่อเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้นเกี่ยวกับครรภ์เราต้องเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาทันที

สำหรับครรภ์ผิดปกติ เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากตั้งแต่การเตรียมคลอด ขั้นแรกของการเตรียมคลอดสำหรับครรภ์ที่มีความเสี่ยง คือต้องเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับอาการผิดปกตินั้น ๆ  ต่อมาคือขั้นปฏิบัติการ หมายถึงการมีสูตินรีแพทย์และทีมงานผู้เชี่ยวชาญภาวะครรภ์เสี่ยง รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิด  และต้องมีจำนวนเท่ากับทารกในครรภ์เสมอในกรณีครรภ์แฝด หรือแม้แต่การเก็บตัวอย่างเลือดของทารกเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ (Lab) ก็จะต้องใช้เทคโนโลยีในการตรวจวัดผลที่ใช้เลือดไม่มาก เนื่องจากทารกตัวเล็กมีเลือดไม่มากนัก

 ෳขอยกเอาเคสหนึ่งมาเล่าเพื่อให้เห็นภาพโดยรวม เป็นคนไข้ที่ได้รับวินิจฉัยว่ามีภาวะครรภ์เสี่ยงจากรกเกาะต่ำ ทารกมีกระบังลมรั่ว และมีลำไส้เข้าไปอยู่ในปอดตอนอายุครรภ์ราว 17 สัปดาห์

คนไข้มาหาเราเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ หลังตรวจดูอย่างละเอียด เราก็บอกคนไข้ตรง ๆ ว่ายังไม่อาจรับประกันชีวิตเด็กได้เพราะเป็นเคสที่หนักมาก ระหว่างนั้นสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านครรภ์เสี่ยง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด และครอบครัวคนไข้วางแผนการดูแลและการคลอดเป็นลำดับขั้นร่วมกัน จนคนไข้เจ็บท้องมีน้ำเดิน ต้องทำคลอดฉุกเฉินขณะอายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์

และเนื่องจากเราได้อธิบายขั้นตอนและความเป็นไปได้ของเหตุฉุกเฉินทั้งหมดกับคนไข้และครอบครัวก่อน ทำให้การปฏิบัติงานค่อนข้างราบรื่น คนไข้ไม่ตกใจกับการคลอดฉุกเฉิน หรือความลำบากในตอนคลอด ที่กรณีนี้ต้องรัดกุมทุกขั้นตอนแม้แต่วิธีการส่งเด็กหลังคลอดออกมาแล้ว คือเราต้องตระหนักถึงเรื่องสำคัญที่สุดว่าต้องไม่ทำให้เด็กร้อง เพราะหากเด็กร้องลมจะเข้าไปในลำไส้ แล้วลำไส้ที่อยู่ในปอดจะอัดจนปอดแตกทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ซึ่งในที่สุดเราก็สามารถช่วยไว้ได้ทั้งแม่และเด็ก ครอบครัวของคนไข้และทีมแพทย์ต่างก็พอใจกับผลการรักษากันทุกฝ่าย෴

อย่างไรก็ตาม แปดสิบเปอร์เซ็นต์ของทารกที่มีความผิดปกติหลังคลอดมักมีระบบทางเดินหายใจผิดปกติ รองลงมาคือปัญหาการทำงานของระบบหัวใจ ดังนั้นบุคลากรจึงต้องมีความชำนาญเรื่องการช่วยหายใจของทารกแรกเกิด เพื่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนน้อยที่สุด ส่วนกรณีอื่น ๆ ที่พบบ่อย เช่น คลอดก่อนกำหนด ทารกพิการแต่กำเนิด ไส้เลื่อนกระบังลม ทารกสมองบวมน้ำ ลำไส้อุดตัน ภาวะสายสะดือย้อยจากปากช่องคลอด ซึ่งทุกกรณีต่างมีวิธีการขั้นตอนดูแลแก้ไขแตกต่างและมีความสำคัญไม่มากน้อยกว่ากัน เพราะทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับการรอดชีวิตของแม่และเด็กโดยตรง

ศ. พญ.อรดี กล่าวว่า การได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิดก่อนการคลอด ถือเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และหลังการคลอด ถึงแม้ว่าครรภ์นั้นผ่านการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นปกติ โดยขั้นตอนนี้ถือเป็นมาตรฐานปฏิบัติในประเทศที่มีวิทยาการทางการแพทย์ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยมีศักยภาพในการดูแลครรภ์ทั้งระดับปกติและครรภ์ที่มีความเสี่ยงพัฒนาเทียบเท่ากับระดับสากลแล้วทุกอย่าง ทั้งความพร้อมของทีมแพทย์และเครื่องมือต่าง ๆ ในการรับมือกับครรภ์เสี่ยง คือสามารถรับคนไข้ที่มีความวิกฤตได้ในระดับสูงสุด ซึ่งถือเป็นการดูแลภาวะวิกฤตหลังคลอดตามมาตรฐานสากล

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์