SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1036

หยุดเชื้อนิวโมคอคคัส สกัด'โรคปอดบวม


หยุดเชื้อนิวโมคอคคัส สกัด#o#โรคปอดบวม

 

 

เนื่องใน "วันปอดบวมโลก" หรือ World Pneumonia Day 12 พฤศจิกายนของทุกปี ขอใช้พื้นที่เล็กๆ อัพเดตข้อมูลพิษภัยและสถานการณ์ของโรคกันอีกครั้ง

"โรคปอดบวม" ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก แต่ละปีมีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้มากถึง 1.6 ล้านคน โรคนี้มีเชื้อแบคทีเรียชื่อ "เชื้อนิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปอดบวม รวมถึงเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ อาทิ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต และ หูชั้นกลางอักเสบ

โรคนี้พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากทั้งสองวัยนี้มีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าวัยหนุ่มสาว นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับแข็ง โรคหอบหืดเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพองหรืออักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคไต ฯลฯ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ ผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่ติดเชื้อโรคมะเร็ง ผู้ที่ต้องฟอกไตเป็นประจำ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

โดยปกติหากมีผู้ป่วยติดเชื้อนิวโมคอคคัส แพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ แต่ปัจจุบันพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัสเริ่ม "ดื้อยา" ปฏิชีวนะหลายชนิด ทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร แพทย์จึงต้องหา ยาชนิดใหม่ๆ เพื่อทำลายเชื้อดังกล่าว แต่จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยาก และทำให้ต้อง เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ใช้เวลารักษานานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ สมาคมวิชาชีพแพทย์จึงได้ส่งเสริมให้มีการเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส โดยเฉพาะใน 2 กลุ่มเสี่ยงหลัก คือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และ ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะหวังว่า...หากร่างกายได้รับการเสริมภูมิคุ้มกันเร็ว จะลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคร้ายมากเท่านั้น และหนึ่งในวิธีที่องค์การอนามัยโลก และแพทย์แนะนำในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพคือ การ "ฉีดวัคซีน" เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อนิวโมคอคคัสให้กับกลุ่มเสี่ยงทั้ง 2 วัย

ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ รพ.จุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลว่า โรคนี้ทำให้ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตนาทีละ 3 คน เนื่องจากมักไม่แสดงอาการชัดเจน มีเพียงอาการเจ็บคอรุนแรงเหมือนคนเป็นไข้หวัดทั่วไป ทำให้ผู้ป่วยมักไม่ใส่ใจ ละเลยการไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาจนกระทั่งมีอาการหนัก และพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่

"มีแนวโน้มผู้ใหญ่เสียชีวิตจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส และเป็นโรคปอดบวมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันถดถอย ขณะที่สังคมไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากร้อยละ 10 ของประชากรในปัจจุบัน จะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในอีก 13 ปีข้างหน้า หากไม่ต้องการให้ประเทศมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาจำนวนมหาศาล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางป้องกัน เสียแต่เนิ่นๆ" ศ.นพ.ธีระพงษ์กล่าว  

ขณะนี้วัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 2 ชนิด คือ วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต และวัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์ แต่ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัสยังเป็น "วัคซีนทางเลือก" สำหรับประเทศไทย แต่ไม่แน่ในอนาคตคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติอาจพิจารณาให้บรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับคนไทย

ดังนั้น ระหว่างนี้หากผู้บริโภคคิดจะฉีดวัคซีนดังกล่าว จึงควรไปขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ ทั้งเรื่องความคุ้มค่า วัคซีนชนิดที่เหมาะสมกับวัย และอาการข้างเคียงหลังรับการฉีด

 

 

 

ที่มา : กรมอนามัย