SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1040

เทคนิคเอาชนะความฟุ้งซ่าน


เทคนิคเอาชนะความฟุ้งซ่าน

 

 

หยุดความว้าวุ่น ดึงสติมีสมาธิ ด้วยการสร้างแรงจูงใจจาก ෱การคิดෲ และ ෱ทริคใกล้ตัวෲ

෱จดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้นานෲ เป็นปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดใจให้หลาย ๆ คน บ่อยครั้งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะสะสางงาน หรือ อ่านบทความ หนังสือสักเล่ม แต่ถึงเวลากลับรู้สึกฟุ้งซ่านคิดวุ่นวายถึงเรื่องอื่น ๆ เป็นภาพแทรกเข้ามา ทำเสียเวลา และยังลดประสิทธิภาพการวิเคราะห์จับใจความ ซึ่งเกิดจากการ ෱ขาดสมาธิෲ

พูดถึงเวลาคนเราไม่มีสมาธิ พบได้จากหลายสาเหตุ อย่าง บางวันพักผ่อนไม่เพียงพอ ทานไม่อิ่ม หรือแม้แต่อิ่มเกินไป ตลอดจนสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถบั่นทอนสติได้

ดังนั้น นอกจากจะต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรง พร้อมรับเหตุดังกล่าวซึ่งอาจเกิดขึ้นในบางวันแล้ว ลองใช้ ෱การคิดෲ สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นความคึกคัก ให้มุ่งจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำดู

หลายคนใช้วิธี ෱ตั้งกรอบเวลาสำหรับตัวเองෲ ว่า ควรจะเสร็จสิ้นภายในเมื่อใด ซึ่งการกำหนดสถานการณ์ให้รู้สึกกดดันนิด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง มักกระตุ้นความรู้สึกเกิดความท้าทายในการถูกตรวจสอบตามผลจากเงื่อนไขข้างต้น ช่วยกระตุ้นให้เร่งตั้งมั่นขับเคลื่อน

ขณะที่ ෱การเปล่งเสียงดึงความสนใจෲ ก็ให้ผลเป็นที่พอใจ อย่าง การทบทวนเนื้อหาตำราเรียน จับใจความต่าง ๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงาน โดยเมื่อศึกษาไปแล้วหนึ่งบท หรือ หนึ่งย่อหน้า ลองพูดอธิบายกับตัวเองอีกรอบ เป็นการใช้เสียงดึงสติ รวมทั้ง อาจจดสรุปเป็นมายด์แม็ป หรือ แผนที่ความคิด เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ซึ่งช่วยจำได้ดีเช่นกัน

นอกจากนั้น ความรับผิดชอบหลาย ๆ ด้านในช่วงเวลาเดียวกัน ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ความคิดวุ่นวายได้ ด้วยความกดดันที่จะต้องเร่งรีบ โฟกัสจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ลุล่วงทันเวลา ෱ลองหยุดพักการกระทำนั้น ๆ ชั่วคราว แล้วไปเดินผ่อนคลายෲ ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับการก้าว สลับกับพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัว ช่วยผ่อนคลายความเครียด และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต หรือ อาจเดินบนสนามหญ้าบริเวณกว้าง พร้อมหายใจเข้า-ออก ผ่อนลมหายใจลึก ๆ ปล่อยความคิดให้ว่าง ช่วยสร้างสมาธิ กระตุ้นร่างกายให้กระปรี้กระเปร่า และพักระบบสายตา

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์