SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1184

โรคโลหิตจาง อาการป่วยของคนขาดธาตุเหล็ก


 

ดูแลตนเองเมื่อเป็นโลหิตจาง (e-magazine) 


          โลหิตจางเป็นความผิดปกติของเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด

          โรงพยาบาลหลายแห่งกำลังขาดแคลนเลือด ซึ่งทีมงามอีแมกกาซีนก็พร้อมที่จะช่วยเหลือสังคม แต่ทว่าหนึ่งสาวในทีมของเรากลับไม่สามารถบริจาคเลือดได้ แม้ว่าเธอจะดูแลร่างกายและพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม โดยคุณหมอได้ให้เหตุผลว่า เธอมีอาการของโลหิตจาง ซึ่งวันนี้เราคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับโรคที่ว่านี้กัน

          ภาวะ โลหิตจาง (Anemia) เป็นโรคทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุด โดยเกิดจากการมีจำนวนเม็ดโลหิตแดงน้อยหรือมีการทำงานที่ผิดปกติ สีของเม็ดเลือดแดงมาจากฮีโมโกลบิล ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีธาตุเหล็กเป็นตัวนำออกซิเจน

          สำหรับการเกิดของโรคโลหิตจางก็เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการขาดอาหาร การเผาผลาญบกพร่อง ยาบางชนิด ได้รับสารพิษ เสียโลหิตเป็นจำนวนมาก เป็นมะเร็งและโรคอื่นอีกหลายชนิด

 

   คุณเป็นโลหิตจางหรือไม่

          ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผิวซีด หอบเหนื่อย หัวใจเต้นแรง แต่การวินิจฉัยที่แน่นอนคือการตรวจเลือด (CBC) แล้วใครบ้างละเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการเกิดโรค

          กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง ได้แก่ สตรีมีครรภ์ สตรีหลังคลอด สตรีมีประจำเดือน และเด็กในวัยเจริญเติบโต ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์จะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงคุณแม่ และทารกในครรภ์อย่างเพียงพอ 

          ส่วนสตรีหลังคลอดจะสูญเสียธาตุเหล็กไปกับเลือดขณะคลอด ดังนั้น ร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติเช่นกัน สำหรับเด็กจะต้องการธาตุเหล็กโดยเฉลี่ย 1 มิลลิกรัมต่อวัน จึงเพียงพอต่อร่างกายที่กำลังเจริญเติบโต แต่ธาตุเหล็กจากอาหารจะได้รับการดูดซึมไม่ดีนัก หรือเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กจึงควรได้รับธาตุเหล็กวันละ 8 ถึง 10 มิลลิกรัม ทั้งนี้ ความต้องการธาตุเหล็กของเด็กที่ดื่มนมแม่จะน้อยกว่านี้ เพราะธาตุเหล็กจากนมแม่จะดูดซึมได้ดีกว่าถึง 3 เท่าตัว

 


นอกจากนี้อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลหิตจางได้คือการได้รับสารตะกั่วเข้า สู่กระแสเลือดมากเกินไป เด็กในช่วงอายุระหว่าง 9 เดือน ෶ 2 ปี จะเป็นช่วงเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางมากที่สุด เด็กที่อยู่ในช่วงวัยนี้ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นโรคโลหิตจาง หรือไม่ โดยเฉพาะเด็กที่เกิดก่อนกำหนดควรได้รับการตรวจเลือดเร็วกว่าช่วงอายุดัง กล่าว

            โลหิตจาง෥ที่พบบ่อย

           ชนิดขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) ซึ่งพบมากที่สุด เกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก ทำให้ไม่เพียงพอในการสร้างฮีโมโกลบิน อาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ มีโรคลำไส้หรือเสียเลือด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีประจำเดือนมากหรือมีการเสียโลหิตเรื้อรังจากสาเหตุ อื่น

           ชนิดไขกระดูกบกพร่องหรืออะพลาสติก (Aplastic) เกิดเมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดบางชนิดได้เพียงพอ เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด แต่เม็ดเลือดที่ผลิตได้จะมีลักษณะทั่วไปเป็นปกติ สาเหตุที่เป็นไปได้คือ มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือมีเนื้องอกของต่อมไทมัส การได้รับรังสีและสารเคมีบางชนิดหรือเกิดภายหลังโรคติดเชื้อ ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นโดยไมทราบสาเหตุ

 

 ชนิดขาดกรดโฟลิก (Folic acid Deficiency Anemia) มักเป็นผลจากการขาดวิตามินบีซึ่งจำเป็นในการสร้างฮีโมโกลบิน ภาวะโลหิตจางชนิดนี้พบบ่อยในโรคพิษสุรา และโรคลำไส้ ซึ่งพบน้อยกว่า

            ชนิดเม็ดเลือดแดงแตกหรือฮีโมลิติก (Hemolytic Anemia) เกิดจากมีการทำลายเม็ดเลือดแดงเกินกว่าที่ร่างกายจะสร้างทัน บางครั้งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านเซลล์เม็ดเลือดแดง

            ชนิดขาดวิตามินบี หรือเพอร์นิเซียส (Pernicious Anemia) เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากกระเพาะอาหารไม่สามารถสร้างสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามินเข้าสู่กระแสโลหิต


            การรักษา

          การรักษาโรคโลหิตจางในแต่ละชนิด มีแนวทางการรักษาที่ไม่เหมือนกัน หากสงสัยควรไปรับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง แต่โดยทั่วไปควรรับประทานอาหารเสริมสุขภาพและได้สมดุล แต่ก็ไม่ควรรับประทานยาเม็ดธาตุเหล็ก หรืออาหารเสริมชนิดอื่น ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อตับ หัวใจ และอวัยวะอื่น ๆ

          นอก จากนี้ คุณอาจเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้เช่นกัน โดยเลือกจากแหล่งอาหารของธาตุเหล็กอยู่ในอาหารหลัก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

            ธาตุเหล็กชนิดที่อยู่ในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล อาหารกลุ่มนี้จะมีธาตุเหล็กสูง และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีที่สุด จะสังเกตได้จากเนื้อที่มีสีแดงยิ่งเข้มขึ้นแสดงว่ามีธาตุเหล็กสูง เมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มิวิตามินซีสูง เช่น บรอคโคลี พริก มะเขือเทศ ฝรั่ง ส้ม จะยิ่งช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น 

 

   ธาตุเหล็กชนิดที่มีอยู่ในไข่และพืช ผักใบเขียวต่าง ๆ รวมไปถึงถั่วเมล็ดแห้ง อาหารพวกนี้มีธาตุเหล็กสูง แต่ธาตุเหล็กในกลุ่มนี้จะดูดซึมเข้าร่างกายได้ไม่ดีนัก จึงควรรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูงในมื้อเดียวกัน เพื่อช่วยในการดูดซึม


 

ที่มา www.kapook.com