SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1202

รู้ไว้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่


 

รู้ไว้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

          โรคไข้หวัด 2009 ปัจจุบันกลายมาเป็น "ไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล" แล้ว และกลับมาระบาดอีกครั้งหนึ่ง วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำ เพื่อให้พวกเราเฝ้าสังเกตอาการ และป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้ทันท่วงทีค่ะ

โรคไข้หวัดใหญ่

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

          อยู่ในฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
         
          ช่วงป่วย 3 วันแรก มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากสุด

เราติดเชื้อได้อย่างไร
         
          ถูกผู้ป่วยไอจามรด ในระยะ 1 ช่วงแขน
         
          จับต้องสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย เช่น โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ผ้าเช็ดมือ ลูกบิดประตู แล้วใช้มือมาแคะจมูกขยี้ตา จับปาก

อาการป่วย

          หลังได้รับเชื้อ 2-3 วัน (มักไม่เกิน 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลบางคนอาจมีอาเจียน ท้องเสียด้วย

หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่...ใครบ้างต้องรีบไปโรงพยาบาล...?

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

          ไข้สูง ไม่ลดลงภายใน 2 วัน

          ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจถี่ หอบเหนื่อย
         
          ซึม อ่อนเพลียมาก เด็กร้องไห้งอแงมาก
         
          กินอาหารไม่ได้ หรือกินน้อยมาก
         
          อาเจียน ท้องร่วงมาก มีภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง ตาโหล
         
          ปัสสาวะน้อย ปลายมือปลายเท้ามีสีม่วงคล้ำ

ผู้ป่วยที่เสี่ยงป่วยรุนแรง
       
          หญิงมีครรภ์ เสี่ยงป่วยรุนแรงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า
         
          ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ ไต เบาหวาน โรคเลือด มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ
         
          ผู้พิการทางสมอง
         
          คนอ้วนมาก (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป)
         
          เด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 2 ปี
         
          ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน

อาการป่วยไม่รุนแรง คือ ไข้ไม่สูง ไม่อ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้

          รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

          หากติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้หมดตามที่แพทย์สั่ง

          เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ เช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เช็ดบริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกไว้ เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที

          ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด

          รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

          ทำจิตใจให้สบาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และ
อากาศถ่ายเทสะดวก

           "อาการจะค่อย ๆ ทุเลา และหายป่วยภายใน 5 ถึง 7 วัน แต่...ห้ามออกกำลังกายหรือทำงานหนักเพราะอาการอาจทรุดลงได้!"

ที่มาจาก www.kapook.com