SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1203
การป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ (ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง)
แม้จะยังไม่มีวิธีขจัดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 100% แต่ก็มีวิธีปฏิบัติตัวและป้องกันหรือลดความเสี่ยงลงได้ ดังนี้
บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้ เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้นจนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์ลำไส้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน
กรณีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อ ช่วยพิจารณาความเสี่ยงรวมถึงการเข้ารับการตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้งด้วยการ ส่องกล้องเพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็งหรือเนื้องอก โพลิปหรือไม่ เพื่อจะได้วินิจฉัยและทำการรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เอง มักมีอาการของโรคคือ แน่นอืด จึงควรเลือกรับประทานพืชผักจำพวกที่ช่วยขับลมร่วมด้วย เช่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ใบโหระพา รวมถึงผักผลไม้ต่างๆ ให้มากเพื่อให้มีกากใย ช่วยในการระบาย แต่ไม่แนะนำให้ทานข้าวเหนียวและเนื้อสัตว์ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หรือเนื้อหมู ตลอดจนเนื้อติดมันทุกชนิด
1. ยาถ่ายประเภทที่ทำให้ลำไส้เก็บความชื้นได้ดีขึ้น และกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวด้วย ทำให้อุจจาระนิ่ม เวลาขับถ่ายจึงไม่ปวดและขับถ่ายสะดวกขึ้น
2. ยาถ่ายประเภทกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ดังนั้นเวลาถ่ายจะทำให้รู้สึกปวด อุจจาระยังแข็ง
อีกวิธีที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายได้ ก็คือ การสวน ซึ่งมีข้อดีคือเวลาถ่ายผู้ป่วยจะไม่ต้องเบ่ง เพราะน้ำยาสวนจะเข้าไปทำให้อุจจาระเหลว ถ่ายออกมาได้เลย
หมั่นออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหว ทำงานมีประสิทธิภาพ
เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
เลือกรับประทานอาหารที่ดี มีเส้นใยมาก หลีกเลี่ยงอาหารบูดเน่าหรือย่อยยาก ไขมันเยอะ
ที่มาจาก www.kapook.com
มาป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันเถอะ
การป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ (ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง)
แม้จะยังไม่มีวิธีขจัดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 100% แต่ก็มีวิธีปฏิบัติตัวและป้องกันหรือลดความเสี่ยงลงได้ ดังนี้
บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้ เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้นจนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์ลำไส้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน
กรณีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อ ช่วยพิจารณาความเสี่ยงรวมถึงการเข้ารับการตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้งด้วยการ ส่องกล้องเพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็งหรือเนื้องอก โพลิปหรือไม่ เพื่อจะได้วินิจฉัยและทำการรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เอง มักมีอาการของโรคคือ แน่นอืด จึงควรเลือกรับประทานพืชผักจำพวกที่ช่วยขับลมร่วมด้วย เช่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ใบโหระพา รวมถึงผักผลไม้ต่างๆ ให้มากเพื่อให้มีกากใย ช่วยในการระบาย แต่ไม่แนะนำให้ทานข้าวเหนียวและเนื้อสัตว์ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หรือเนื้อหมู ตลอดจนเนื้อติดมันทุกชนิด
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางราย อาจมีอาการถ่ายอุจจาระไม่ได้จริง ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับยาช่วยถ่ายอุจจาระ ซึ่งยาถ่ายจะมีอยู่ 2 แบบ แต่ละแบบจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป คือ
1. ยาถ่ายประเภทที่ทำให้ลำไส้เก็บความชื้นได้ดีขึ้น และกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวด้วย ทำให้อุจจาระนิ่ม เวลาขับถ่ายจึงไม่ปวดและขับถ่ายสะดวกขึ้น
2. ยาถ่ายประเภทกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ดังนั้นเวลาถ่ายจะทำให้รู้สึกปวด อุจจาระยังแข็ง
หมั่นออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหว ทำงานมีประสิทธิภาพ
เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
เลือกรับประทานอาหารที่ดี มีเส้นใยมาก หลีกเลี่ยงอาหารบูดเน่าหรือย่อยยาก ไขมันเยอะ
ที่มาจาก www.kapook.com