SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1231
โรคมือ เท้า ปาก รู้ทัน ป้องกันได้เร็ว (สสส.)
เรื่องโดย พิมพ์ชนก ศรเพชร Team Content www.thaihealth.or.th
"ฝนตก ยิ่งนึกถึงทีไร ก็ยิ่งชุ่มฉ่ำ....." ฤดู กาลที่นอกจากจะพัดพาเอาความชุ่มชื้น ให้เราได้เย็นกาย สบายใจแล้ว ยังมีสิ่งแปลกปลอมที่แฝงตัวมาและพร้อมจะทำร้ายเราได้โดยไม่รู้ตัว อย่างเจ้าโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้เลือดออก และอีกหนึ่งโรคที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และรวดเร็วนั่นคือ "โรคมือเท้าปาก"
"โรคมือเท้าปาก" โรคติดต่อคนละชนิดกับโรคเท้าและปากที่เกิดกับสัตว์ใหญ่อย่างวัว แกะ ถึงแม้จะเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกันก็ตาม แต่ความรุนแรงก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่ง ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อธิบายให้ฟังว่า
"โรค มือเท้าปากเกิดจากไวรัสกลุ่มหนึ่งที่ชื่อ "เอนเตอโรไวรัส" ซื่งมีหลายสายพันธุ์ ส่วนเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอ 16 มีอาการไม่รุนแรง เป็นแล้วสามารถหายเองได้ ส่วนใหญ่พบในเด็ก เพราะเขายังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ พอได้รับเชื้อจึงเกิดโรคได้ง่าย ส่วนผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคได้ดีกว่า จึงพบได้น้อย"
มือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้อย่างไร
คุณหมอกุลกัญญา บอกว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้ ก็เหมือนกับเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไปที่เจริญเติบโตได้ดีและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อเจออากาศเย็น และมีความชื้นสูง อย่างช่วงหน้าฝนและหน้าหนาวจะเติบโตได้ดีกว่าสภาพอากาศร้อน สำหรับประเทศไทยจะพบได้มากในช่วงหน้าฝน
"โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อได้หลายวิธี อย่างเด็กที่ติดเชื้อเข้าห้องน้ำแล้วล้างมือไม่สะอาดมาหยิบจับสิ่งของทำให้เชื้อปนเปื้อน เมื่อมีเด็กมาสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่ก็ทำให้ติดได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสิ่งของทางปาก และน้ำลาย ส่วนเด็กที่ป่วยจะมีเชื้อติดต่อในน้ำลาย น้ำมูก และอาจพบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งเชื้อสามารถอยู่ได้ยาวนานเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เลยทีเดียว" คุณหมอกุลกัญญา อธิบายเพิ่มเติม
อาการหลังจากติดเชื้อ และการรักษา
คุณหมอกุลกัญญาบอกว่า หลังติดเชื้อแล้ว จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 วัน โรคถึงจะแสดงอาการ สำหรับ อาการที่เกิดกับเด็กชัดเจนคือ มีตุ่มน้ำใส ๆ ตุ่มแดง ขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และมีแผลร้อนในภายในปาก บางคนมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ส่วนการรักษาแพทย์จะรักษาตามอาการ เมื่อผู้ป่วยมีไข้ก็จะให้ยาลดไข้ ซึ่งใช้เวลา 7-10 วัน อาการก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติ
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วย 99 % จะมีอาการไม่รุนแรงเป็นแล้วรักษาหายได้ แต่มีบางส่วน 1 ใน 1,000 ราย ที่จะมีอาการรุนแรง เพราะรับเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 ผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดนี้จะมีอาการรุนแรง เชื้อขึ้นสมอง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีไข้สูง ชัก น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้
โรคนี้ถือว่าเป็นโรคติดต่อได้ง่ายในเด็ก ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงมาก แต่ก็มีโอกาสรุนแรงได้ การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้
1. ครอบครัวที่มีลูกป่วยด้วยโรคนี้ ไม่ควรพาไปตามที่สาธารณะ หรือโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคสู่คนอื่น
2. ผู้ดูแลเด็กควรล้างมือให้สะอาด เพราะเชื้ออาจแพร่สู่เด็กคนอื่น ๆ ผ่านมือของผู้ดูแลเด็กที่ไปสัมผัสเด็กที่ติดเชื้อ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
3. ช่วงที่เกิดการระบาดของโรคไม่ควรพาลูกไปสถานที่ที่มีเด็กอยู่เยอะ เพราะมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย
4. โรงเรียนควรสร้างสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และถูกสุขลักษณะ รวมถึงสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับเด็กและคนในโรงเรียน ควรแยกของเล่นเด็ก ไม่ให้เด็กใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีของตนเองและคนที่เรารัก มาร่วมป้องกันและสร้างสุขอนามัยที่ดี ให้ห่างไกลโรคมือเท้าปากกันดีกว่าค่ะ
ที่มา www.kapook.com
โรคมือเท้าปาก รู้ทัน ป้องกันได้เร็ว
โรคมือ เท้า ปาก รู้ทัน ป้องกันได้เร็ว (สสส.)
เรื่องโดย พิมพ์ชนก ศรเพชร Team Content www.thaihealth.or.th
"ฝนตก ยิ่งนึกถึงทีไร ก็ยิ่งชุ่มฉ่ำ....." ฤดู กาลที่นอกจากจะพัดพาเอาความชุ่มชื้น ให้เราได้เย็นกาย สบายใจแล้ว ยังมีสิ่งแปลกปลอมที่แฝงตัวมาและพร้อมจะทำร้ายเราได้โดยไม่รู้ตัว อย่างเจ้าโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้เลือดออก และอีกหนึ่งโรคที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และรวดเร็วนั่นคือ "โรคมือเท้าปาก"
"โรคมือเท้าปาก" โรคติดต่อคนละชนิดกับโรคเท้าและปากที่เกิดกับสัตว์ใหญ่อย่างวัว แกะ ถึงแม้จะเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกันก็ตาม แต่ความรุนแรงก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่ง ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อธิบายให้ฟังว่า
"โรค มือเท้าปากเกิดจากไวรัสกลุ่มหนึ่งที่ชื่อ "เอนเตอโรไวรัส" ซื่งมีหลายสายพันธุ์ ส่วนเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอ 16 มีอาการไม่รุนแรง เป็นแล้วสามารถหายเองได้ ส่วนใหญ่พบในเด็ก เพราะเขายังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ พอได้รับเชื้อจึงเกิดโรคได้ง่าย ส่วนผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคได้ดีกว่า จึงพบได้น้อย"
มือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้อย่างไร
คุณหมอกุลกัญญา บอกว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้ ก็เหมือนกับเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไปที่เจริญเติบโตได้ดีและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อเจออากาศเย็น และมีความชื้นสูง อย่างช่วงหน้าฝนและหน้าหนาวจะเติบโตได้ดีกว่าสภาพอากาศร้อน สำหรับประเทศไทยจะพบได้มากในช่วงหน้าฝน
"โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อได้หลายวิธี อย่างเด็กที่ติดเชื้อเข้าห้องน้ำแล้วล้างมือไม่สะอาดมาหยิบจับสิ่งของทำให้เชื้อปนเปื้อน เมื่อมีเด็กมาสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่ก็ทำให้ติดได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสิ่งของทางปาก และน้ำลาย ส่วนเด็กที่ป่วยจะมีเชื้อติดต่อในน้ำลาย น้ำมูก และอาจพบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งเชื้อสามารถอยู่ได้ยาวนานเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เลยทีเดียว" คุณหมอกุลกัญญา อธิบายเพิ่มเติม
อาการหลังจากติดเชื้อ และการรักษา
คุณหมอกุลกัญญาบอกว่า หลังติดเชื้อแล้ว จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 วัน โรคถึงจะแสดงอาการ สำหรับ อาการที่เกิดกับเด็กชัดเจนคือ มีตุ่มน้ำใส ๆ ตุ่มแดง ขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และมีแผลร้อนในภายในปาก บางคนมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ส่วนการรักษาแพทย์จะรักษาตามอาการ เมื่อผู้ป่วยมีไข้ก็จะให้ยาลดไข้ ซึ่งใช้เวลา 7-10 วัน อาการก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติ
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วย 99 % จะมีอาการไม่รุนแรงเป็นแล้วรักษาหายได้ แต่มีบางส่วน 1 ใน 1,000 ราย ที่จะมีอาการรุนแรง เพราะรับเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 ผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดนี้จะมีอาการรุนแรง เชื้อขึ้นสมอง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีไข้สูง ชัก น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้
โรคนี้ถือว่าเป็นโรคติดต่อได้ง่ายในเด็ก ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงมาก แต่ก็มีโอกาสรุนแรงได้ การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้
1. ครอบครัวที่มีลูกป่วยด้วยโรคนี้ ไม่ควรพาไปตามที่สาธารณะ หรือโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคสู่คนอื่น
2. ผู้ดูแลเด็กควรล้างมือให้สะอาด เพราะเชื้ออาจแพร่สู่เด็กคนอื่น ๆ ผ่านมือของผู้ดูแลเด็กที่ไปสัมผัสเด็กที่ติดเชื้อ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
3. ช่วงที่เกิดการระบาดของโรคไม่ควรพาลูกไปสถานที่ที่มีเด็กอยู่เยอะ เพราะมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย
4. โรงเรียนควรสร้างสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และถูกสุขลักษณะ รวมถึงสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับเด็กและคนในโรงเรียน ควรแยกของเล่นเด็ก ไม่ให้เด็กใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีของตนเองและคนที่เรารัก มาร่วมป้องกันและสร้างสุขอนามัยที่ดี ให้ห่างไกลโรคมือเท้าปากกันดีกว่าค่ะ
ที่มา www.kapook.com