SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1251

โรครังไข่มีถุงน้ำหลายใบ...รักษาอย่างไรดี


 

เมื่อสี่สิบปีก่อน โรค PCOS นี้เป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครเป็นกัน แต่มาปัจจุบัน ผู้หญิงทุกหนึ่งในสิบคนจะเป็นโรคนี้แรกสุด อย่าเพิ่งด่วนยอมรับการวินิจฉัยเร็วเกินไป ผู้เขียน (Lara Grinevitch) เคยเห็นผู้ป่วยหลายคนถูกวินิจฉัยว่าเป็น PCOS หลังการไปทำอัลตราซาวด์ หรือไปตรวจพบว่ามีระดับฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) มีระดับสูงเพียงครั้งเดียว ในการวินิจฉัยนั้นจะต้องประกอบด้วยสองสิ่งต่อไปนี้คือ

          อย่างที่ 1 ไม่มีรอบเดือนหรือมีรอบเดือนที่ผิดปกติ, มีระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดสูงขึ้น, และอัลตราซาวด์พบว่ารังไข่มีถุงน้ำหลายใบอยู่ด้วย

          อย่างที่สอง PCOS มักเป็นโรคที่รักษาได้ ถุงน้ำ หรือ cyst ที่เกิดเป็นเพียง follicle หรือไข่ที่เจริญไม่เต็มที่ ที่ถูกดูดซึมกลับมาในขณะที่รังไข่พยายามจะตกไข่ออกมา สาเหตุของโรคนี้ได้แก่ โรคของต่อมไทรอยด์, ความเครียด และผอม

          อย่างไรก็ตาม PCOS ที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนซึ่งจะสามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือดเท่า นั้น การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ที่พบมากที่สุดคือเกิดจากการดื้ออินซูลิน PCOS ที่เกิดจากสาเหตุนี้จะตอบสนองได้ดีกับการลดน้ำหนักตัวลง และการใช้ยาคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วน PCOS ที่เกิดจากสาเหตุอื่นก็ต้องการการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

 

มีด้านบวกอะไรอยู่บ้าง?

          แมเรียม ฮูดีโคว่า นักวิจัยกล่าวว่า "เมื่อผู้ป่วย PCOS มีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ก็สูงขึ้นด้วย" การทำงานของเมตาบอลึซึมที่ต่ำที่ทำให้ผู้หญิงมีอาการดื้ออินซูลินอาจไปมีผล ในการ "สงวน" ปริมาณไข่สำรองที่มีอยู่ การวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่ออายุได้ 35 ปี สตรีที่เป็น PCOS ประสบความสำเร็จในการมีครรภ์ได้เท่ากับสตรีที่ไม่เป็น PCOS แล้วก็ไม่ต้องไปทำการบำบัดการเจริญพันธุ์อีกด้วย

ชนิดที่ 1 PCOS จากการดื้ออินซูลิน

          เป็น PCOS ชนิดที่พบได้มากที่สุด การตอบสนองผิดปกติต่ออินซูลิน (ดื้ออินซูลิน) ไปรบกวนการผลิตเอสโตรเจนและการตกไข่ เราสามารถยืนยันว่าป่วยด้วยโรค PCOS ชนิดที่ 1 ได้จากการตรวจเลือดหาความผิดปกติในความทนทานต่ออินซูลิน (glucose tole rance test) ไม่แนะนำให้ผู้ป่วย PCOS แบบนี้ รับประทานยาคุมกำเนิด

          โรคนี้ยังเกิดขึ้นได้จากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเลปติน (leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลึซึม ปัญหาของเลปตินเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในสตรีที่มีประวัติการรับประทานอย่างผิด ปกติ และการเล่นกีฬาอย่างหนัก โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด

          อาการที่เห็น

          สิว

          ขนบนใบหน้า

          ผมร่วง

          รอบเดือนผิดปกติ

          เทสโทสเตอโรนสูง

          น้ำหนักตัวเพิ่ม

          ไม่เจริญพันธุ์

ชนิดที่ 2 PCOS ที่ไม่ได้เกิดจากการดื้ออินซูลิน

          ผู้ป่วยด้วย PCOS ชนิดนี้มักมีรูปร่าง ผอมบาง มีระดับอินซูลินและเลปตินปกติ ดังนั้น จึงมีสาเหตุอื่นที่ทำให้การตกไข่ระดับเทสโทสเตอโรนเพิ่มสูงผิดปกติ PCOS ชนิดนี้ไม่ตอบสนองต่อการลดน้ำหนักตัวหรือยารักษาโรคเบาหวาน

           อุปสรรค์ได้แก่ :

          ยาคุมกำเนิด จะไปขัดขวางการตอบสนองของฮอร์โมนและเพิ่มระดับฮอร์โมนพิทูอิทารี LH สำหรับสตรีส่วนมากแล้ว LH จะตกลงเมื่อหยุดใช้ยาคุมกำเนิด แต่บางคนก็ยังมีระดับสูงอยู่ การมีระดับ LH สูงเรื้อรังจะไปรบกวนการตกไข่, กระตุ้นเทสโทสเตอโรน, และนำไปสู่การเป็น PCOS การใช้ยาสมุนไพรอย่าง peony และชะเอมเทศ (licorice) สามารถยับยั้ง LH, ทำให้การตกไข่กลับมาเป็นปกติ, และทำให้อาการ PCOS ดีขึ้น

          ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำเกินไป ทำ ให้รอบเดือนผิดปกติ ซึ่งทางเทคนิคแล้วยังไม่ถือว่าเป็น PCOS แต่อาจทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้ ที่ยุ่งยากไปกว่านั้น โรค PCOS ที่แท้จริงกับโรคภูมิคุ้มกันจำตัวเองไม่ได้ หรือเล่นงานตัวเองจากปัญหาของต่อมไทรอยด์อีกด้วย

          ขาดวิตามินดี รังไข่ต้องการไวตามิน ดี เพื่อที่จะทำงานได้ หากตรวจพบแน่ว่าขาดวิตามินนี้ การรับประทานในรูปอาหารเสริมจะช่วยได้

          โปรแลคติน เป็นฮอร์โมนพิทูอิทารีที่สามารถกดการตกไข่ และทำให้รอบเดือนผิดปกติ นี่ไม่ใช่อาการของ PCOS แต่ก็น่าประหลาดใจที่ไม่ค่อยจะทำการตรวจเลือดหาสาเหตุนี้กันมากนัก

          ความเสียหายของฮอร์โมน เกิดจากการได้รับสาร bisphenol-A และ Phthalates ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิด PCOS

          แบคทีเรียในลำไส้ แบคทีเรียชนิดเลวสามารถกดการทำงานของโปรตีน sex hormone-binding globulin-SHBG ซึ่งควบคุมการทำงานของเทสโทสเตอโรน ทำให้เทสโทสเตอโรนทำงานผิดปกติ

ที่มา www.kapook.com