SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1268
โรคพาร์กินสัน รู้ทัน รักษาได้ (โรงพยาบาลพญาไท 1)
โดย นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ อายุรแพทย์ระบบประสาท เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ ถูกกล่าวถึงครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1817 โดยนายแพทย์ เจมส์ พาร์กินสัน อัตราของการเกิดโรคพาร์กินสันจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะอยู่ประมาณ 55-60 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง 1.5 เท่า
ความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสันตลอดชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 2 และจากการศึกษาในกลุ่มประเทศแถบยุโรปพบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดโรคพาร์กินสันในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 1.8 ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคพาร์กินสันตั้งแต่อายุน้อย (อายุน้อยกว่า 50 ปี) ส่วนใหญ่พบว่าจะมีความสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากกว่าผู้ป่วยที่ เริ่มมีอาการตอนอายุมาก
สำหรับในประเทศไทยนั้น จากการศึกษาในโครงการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นพาร์กินสันกว่า 40,000 คน โดยพบว่าใน เขตเมืองมีความชุกของโรคพาร์กินสันประมาณ 126.83 คน ต่อประชากร 100,000 คน และในเขตชนบทมีความชุกของโรคพาร์กินสันประมาณ 90.82 คน ต่อประชากร 100,000 คน ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและจะเพิ่มเป็นเท่าตัวในอีก 15 ปี ข้างหน้า จึงทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเกิดจากความเสื่อมของสมองบริเวณก้านสมองที่เรียกว่า Substantia nigra (parcompacta) ในสมองส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่สร้างสารโดปามีน (Dopamine) เมื่อเกิดการตายของเซลล์ประสาทขึ้นในบริเวณดังกล่าว ทำให้การสร้างสารโดปามีนลดลงจนเกิดความไม่สมดุลของวงจรควบคุมการเคลื่อนไหว ของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคพาร์กินสัน ซึ่งได้แก่ อาการแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า และอาการสั่น ปัจจุบันสาเหตุของความเสื่อมดังกล่าวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ การสัมผัสสารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือสมองได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
อาการของโรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักมีอาการสั่น อาการเกร็ง อาการเคลื่อนไหวช้า เดินซอยเท้าสั้น ๆ ทรงตัวไม่ดีทำให้หกล้มง่าย ซึ่งอาการสั่นเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคพาร์กินสันและมักเริ่มมี อาการที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายก่อน
นอกจากอาการด้านการเคลื่อนไหวแล้วผู้ป่วยยังอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การรับกลิ่นและรสอาหารลดลง อาการท้องผูกเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติของการนอนหลับโดยเฉพาะอาการนอนกรนและนอนละเมอ
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันจะอาศัยอาการของผู้ป่วยและการตรวจร่างกายจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain) เพื่อแยกโรคจากโรคทางสมองอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการคล้ายพาร์กินสันได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง และเนื้องอกในสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการตรวจพิเศษบางอย่าง ได้แก่ การสแกนสมองดูการทำงานของสมองส่วนลึก (F-DOPA PET Scan) และการตรวจหาความผิดปกติของการสะสมธาตุเหล็กบริเวณก้านสมองด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง (Transcranial sonography) ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันให้ดียิ่งขึ้น
การรักษาโรคพาร์กินสัน
การรักษาโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยาเพื่อลดและควบคุมอาการพาร์ กินสันทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการยุกยิกหลังได้รับยา หรือภาวะยาออกฤทธิ์ไม่สม่ำเสมอ ที่ไม่สามารถปรับยาเพื่อควบคุมอาการได้แล้วนั้น อาจพิจารณาทำการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) เพื่อช่วยลดอาการดังกล่าวได้
นอกจากการการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีการรักษาอื่น ๆ ที่ควรทำควบคู่กับการรับประทานยา เช่น การทำกายภาพ การทำกิจกรรมบำบัด การฝึกพูด และการฝึกกลืน เพื่อช่วยให้อาการและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญและมีหลักฐานชัดเจนว่าสามารถช่วยชะลอการดำเนินโรคได้
ถาม-ตอบ โรคพาร์กินสัน
Q : โรคพาร์กินสันมีอาการอย่างไร
A : โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวที่พบบ่อยในผู้สูง อายุ ผู้ป่วยมักมีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าและลำบาก มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ก้าวเดินลำบาก และหกล้มง่าย
Q : มีอาการมือสั่นจะเป็นโรคพาร์กินสันหรือไม่
A : อาการมือสั่นนอกจากโรคพาร์กินสัน ยังสามารถพบในโรคความผิดปกติของระบบประสาทได้หลายโรค เช่น โรคมือสั่นจากกรรมพันธุ์ (Essential tremor) โรคมือสั่นจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Dystonictremor) โดยอาการมือสั่นที่พบในโรคพาร์กินสันส่วนมากมักเป็นในขณะเผลอหรือวางมืออยู่ เฉย แต่ก็อาจพบอาการสั่นในขณะถือของหรือเขียนหนังสือได้ด้วยเช่นกัน
Q : โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร
A : โรคพาร์กินสันเกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทในส่วนของการก้านสมองที่ควบคุม การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "เบซอลแกงเกลีย" (Basal Ganglia) ทำให้สมองส่วนดังกล่าวขาดสารสื่อประสาทที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "โดปามีน" (Dopamine) ซึ่งสาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทบกระเทือนของสมองจากอุบัติเหตุและการสัมผัส สารหรือยาฆ่าแมลง
Q : เป็นพาร์กินสันทำไมต้องรีบพบแพทย์
A : การได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันและได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคพาร์กินสันได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายโรคพาร์กินสันแต่มีการรักษาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อีกด้วย
Q : โรคกลุ่มอาการคล้ายพาร์กินสันแตกต่างจากโรคพาร์กินสันอย่างไร
A : กลุ่มอาการคล้ายพาร์กินสัน มีหลากหลายสาเหตุ ได้แก่ เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองอุดตัน น้ำในโพรงสมองเกิน การติดเชื้อในระบบประสาท และโรคระบบประสาทเสื่อมจากพันธุกรรม ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการคล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสันมาก การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Q : รักษาโรคพาร์กินสัน ต้องทำอย่างไรบ้าง
A : การรักษาโรคพาร์กินสันส่วนมากอาศัยการใช้ยารับประทานเป็นหลัก โดยยาส่วนใหญ่จะเป็นยาที่เข้าไปทดแทนสารสื่อประสาทโดปามีนในสมองของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อาการสั่นลดลงเคลื่อนไหวร่างกายได้เร็วขึ้น รวมไปถึงสามารถเดินและทรงตัวได้ดีขึ้น
Q : นอกจากการกินยาแล้ว ยังมีการรักษาอื่น ๆ อีกหรือไม่
A : ในบางกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันมานาน อาจพบว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อนไหว ได้แก่ ยาออกฤทธิ์ไม่สม่ำเสมอ ยาหมดฤทธิ์เร็ว มีอาการตัวโยกช่วงที่ยาออกฤทธิ์ เป็นต้น ในกรณีนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วน ลึก (Deep Brain Stimulation) เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อนไหวได้
Q : โรคพาร์กินสันสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
A : ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้ เนื่องจากเป็นความเสื่อมของระบบประสาท
Q : แล้วมีอะไรบ้าง ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของโรคพาร์กินสันได้
A : ในปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่จะช่วยหยุดหรือชะลอความเสื่อมดังกล่าวได้ แต่จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายควบคู่กับการกินยาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือ ปั่นจักรยาน สามารถช่วยชะลอการเสื่อมลงของโรคและยังช่วย
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอีกด้วย
Q : สเต็มเซลล์ (Stem cell) สามารถรักษาโรคพาร์กินสันได้หรือไม่
A : ในต่างประเทศมีความพยายามอย่างมากในการใช้สเต็มเซลล์เพื่อมารักษาโรคระบบ ประสาทเสื่อมหลาย ๆ โรค รวมถึงโรคพาร์กินสันด้วย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาใดที่สามารถยืนยันได้ว่า
สเต็มเซลล์สามารถรักษาโรคพาร์กินสันได้
ที่มา www.kapook.com
โรคพาร์กินสัน รู้ทัน รักษาได้
โรคพาร์กินสัน รู้ทัน รักษาได้ (โรงพยาบาลพญาไท 1)
โดย นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ อายุรแพทย์ระบบประสาท เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ ถูกกล่าวถึงครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1817 โดยนายแพทย์ เจมส์ พาร์กินสัน อัตราของการเกิดโรคพาร์กินสันจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะอยู่ประมาณ 55-60 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง 1.5 เท่า
ความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสันตลอดชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 2 และจากการศึกษาในกลุ่มประเทศแถบยุโรปพบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดโรคพาร์กินสันในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 1.8 ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคพาร์กินสันตั้งแต่อายุน้อย (อายุน้อยกว่า 50 ปี) ส่วนใหญ่พบว่าจะมีความสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากกว่าผู้ป่วยที่ เริ่มมีอาการตอนอายุมาก
สำหรับในประเทศไทยนั้น จากการศึกษาในโครงการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นพาร์กินสันกว่า 40,000 คน โดยพบว่าใน เขตเมืองมีความชุกของโรคพาร์กินสันประมาณ 126.83 คน ต่อประชากร 100,000 คน และในเขตชนบทมีความชุกของโรคพาร์กินสันประมาณ 90.82 คน ต่อประชากร 100,000 คน ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและจะเพิ่มเป็นเท่าตัวในอีก 15 ปี ข้างหน้า จึงทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเกิดจากความเสื่อมของสมองบริเวณก้านสมองที่เรียกว่า Substantia nigra (parcompacta) ในสมองส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่สร้างสารโดปามีน (Dopamine) เมื่อเกิดการตายของเซลล์ประสาทขึ้นในบริเวณดังกล่าว ทำให้การสร้างสารโดปามีนลดลงจนเกิดความไม่สมดุลของวงจรควบคุมการเคลื่อนไหว ของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคพาร์กินสัน ซึ่งได้แก่ อาการแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า และอาการสั่น ปัจจุบันสาเหตุของความเสื่อมดังกล่าวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ การสัมผัสสารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือสมองได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักมีอาการสั่น อาการเกร็ง อาการเคลื่อนไหวช้า เดินซอยเท้าสั้น ๆ ทรงตัวไม่ดีทำให้หกล้มง่าย ซึ่งอาการสั่นเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคพาร์กินสันและมักเริ่มมี อาการที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายก่อน
นอกจากอาการด้านการเคลื่อนไหวแล้วผู้ป่วยยังอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การรับกลิ่นและรสอาหารลดลง อาการท้องผูกเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติของการนอนหลับโดยเฉพาะอาการนอนกรนและนอนละเมอ
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันจะอาศัยอาการของผู้ป่วยและการตรวจร่างกายจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain) เพื่อแยกโรคจากโรคทางสมองอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการคล้ายพาร์กินสันได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง และเนื้องอกในสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการตรวจพิเศษบางอย่าง ได้แก่ การสแกนสมองดูการทำงานของสมองส่วนลึก (F-DOPA PET Scan) และการตรวจหาความผิดปกติของการสะสมธาตุเหล็กบริเวณก้านสมองด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง (Transcranial sonography) ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันให้ดียิ่งขึ้น
การรักษาโรคพาร์กินสัน
การรักษาโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยาเพื่อลดและควบคุมอาการพาร์ กินสันทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการยุกยิกหลังได้รับยา หรือภาวะยาออกฤทธิ์ไม่สม่ำเสมอ ที่ไม่สามารถปรับยาเพื่อควบคุมอาการได้แล้วนั้น อาจพิจารณาทำการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) เพื่อช่วยลดอาการดังกล่าวได้
นอกจากการการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีการรักษาอื่น ๆ ที่ควรทำควบคู่กับการรับประทานยา เช่น การทำกายภาพ การทำกิจกรรมบำบัด การฝึกพูด และการฝึกกลืน เพื่อช่วยให้อาการและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญและมีหลักฐานชัดเจนว่าสามารถช่วยชะลอการดำเนินโรคได้
ถาม-ตอบ โรคพาร์กินสัน
Q : โรคพาร์กินสันมีอาการอย่างไร
A : โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวที่พบบ่อยในผู้สูง อายุ ผู้ป่วยมักมีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าและลำบาก มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ก้าวเดินลำบาก และหกล้มง่าย
Q : มีอาการมือสั่นจะเป็นโรคพาร์กินสันหรือไม่
A : อาการมือสั่นนอกจากโรคพาร์กินสัน ยังสามารถพบในโรคความผิดปกติของระบบประสาทได้หลายโรค เช่น โรคมือสั่นจากกรรมพันธุ์ (Essential tremor) โรคมือสั่นจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Dystonictremor) โดยอาการมือสั่นที่พบในโรคพาร์กินสันส่วนมากมักเป็นในขณะเผลอหรือวางมืออยู่ เฉย แต่ก็อาจพบอาการสั่นในขณะถือของหรือเขียนหนังสือได้ด้วยเช่นกัน
Q : โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร
A : โรคพาร์กินสันเกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทในส่วนของการก้านสมองที่ควบคุม การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "เบซอลแกงเกลีย" (Basal Ganglia) ทำให้สมองส่วนดังกล่าวขาดสารสื่อประสาทที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "โดปามีน" (Dopamine) ซึ่งสาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทบกระเทือนของสมองจากอุบัติเหตุและการสัมผัส สารหรือยาฆ่าแมลง
Q : เป็นพาร์กินสันทำไมต้องรีบพบแพทย์
A : การได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันและได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคพาร์กินสันได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายโรคพาร์กินสันแต่มีการรักษาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อีกด้วย
Q : โรคกลุ่มอาการคล้ายพาร์กินสันแตกต่างจากโรคพาร์กินสันอย่างไร
A : กลุ่มอาการคล้ายพาร์กินสัน มีหลากหลายสาเหตุ ได้แก่ เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองอุดตัน น้ำในโพรงสมองเกิน การติดเชื้อในระบบประสาท และโรคระบบประสาทเสื่อมจากพันธุกรรม ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการคล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสันมาก การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Q : รักษาโรคพาร์กินสัน ต้องทำอย่างไรบ้าง
A : การรักษาโรคพาร์กินสันส่วนมากอาศัยการใช้ยารับประทานเป็นหลัก โดยยาส่วนใหญ่จะเป็นยาที่เข้าไปทดแทนสารสื่อประสาทโดปามีนในสมองของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อาการสั่นลดลงเคลื่อนไหวร่างกายได้เร็วขึ้น รวมไปถึงสามารถเดินและทรงตัวได้ดีขึ้น
Q : นอกจากการกินยาแล้ว ยังมีการรักษาอื่น ๆ อีกหรือไม่
A : ในบางกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันมานาน อาจพบว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อนไหว ได้แก่ ยาออกฤทธิ์ไม่สม่ำเสมอ ยาหมดฤทธิ์เร็ว มีอาการตัวโยกช่วงที่ยาออกฤทธิ์ เป็นต้น ในกรณีนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วน ลึก (Deep Brain Stimulation) เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางการเคลื่อนไหวได้
Q : โรคพาร์กินสันสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
A : ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้ เนื่องจากเป็นความเสื่อมของระบบประสาท
Q : แล้วมีอะไรบ้าง ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของโรคพาร์กินสันได้
A : ในปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่จะช่วยหยุดหรือชะลอความเสื่อมดังกล่าวได้ แต่จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายควบคู่กับการกินยาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือ ปั่นจักรยาน สามารถช่วยชะลอการเสื่อมลงของโรคและยังช่วย
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอีกด้วย
Q : สเต็มเซลล์ (Stem cell) สามารถรักษาโรคพาร์กินสันได้หรือไม่
A : ในต่างประเทศมีความพยายามอย่างมากในการใช้สเต็มเซลล์เพื่อมารักษาโรคระบบ ประสาทเสื่อมหลาย ๆ โรค รวมถึงโรคพาร์กินสันด้วย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาใดที่สามารถยืนยันได้ว่า
สเต็มเซลล์สามารถรักษาโรคพาร์กินสันได้
ที่มา www.kapook.com