SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1269

วัคซีนผู้ใหญ่ จำเป็นต้องฉีดจริงหรือ ?


 

วัคซีนผู้ใหญ่ จำเป็นจริงหรือ (โรงพยาบาลพญาไท 1)

          เมื่อพูดถึงวัคซีนคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า วัคซีนเป็นเรื่องของเด็กเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววัคซีนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนทุกวัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยปัจจัยดังกล่าว คือ

1. เพศ

          ในเฉพาะบางวัคซีนเท่านั้น เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) แต่ในปัจจุบันทางการแพทย์แนะนำให้ผู้ชายในกลุ่มรักร่วมเพศรับวัคซีนชนิดนี้ ด้วย

2. อายุ

          ในคนทั่วไปอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปทุกคน แนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม เนื่องจากถ้าเกิดการติดเชื้อที่ปอดแล้ว โรคปอดบวมอันตรายถึงชีวิตได้

3. อาชีพ

          เพราะบางอาชีพต้องรับวัคซีนเฉพาะ เช่น สัตวแพทย์ คนที่ทำงานคลุกคลีกับสัตว์ ควรต้องรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย  
    
4. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายกว่าปกติ 

          เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคตับ  ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ กลุ่มนี้จำเป็นต้องรับวัคซีนป้องกันโรคมากกว่าคนทั่วไป เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม วัคซีนป้องกันโรคไอกรน เป็นต้น
 
          การให้วัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างเสริมสุขภาพที่มีความคุ้มค่ากว่าเมื่อ ต้องทำการรักษาหลังจากติดเชื้อหรือเป็นโรคนั้นแล้ว และต้องไม่ลืมว่าโรคบางโรคได้สูญหายไปจากโลกนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการนำวัคซีนมาใช้ เช่น โรคฝีดาษ และโรคบางโรคกำลังใกล้จะถูกกำจัดให้หมดไปด้วยการใช้วัคซีน

 

    ผลดีของ "วัคซีน"
          เป็นวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุด การลงทุนด้านการฉีดวัคซีน ถือว่าเป็นการลงทุนทางด้านสุขภาพที่คุ้มค่าที่สุด รองลงมาจากการลงทุนให้มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนส่วนใหญ่เป็นโรคที่เป็นแล้วมีความรุนแรง รักษายาก เช่น โรคบาดทะยักในผู้สูงอายุ บางโรคทำให้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ และปอดบวมในผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน บาง โรคหากเป็นแล้วอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังหรือจบลงด้วยการเป็นมะเร็ง เช่น โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, โรคติดเชื้อไวรัสเอสพีวี (HPV) เป็นต้น

ที่มา www.kapook.com