SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1344
เข้าหน้าฝน เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
พอเข้าสู่ช่วงหน้าฝน โรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น ෴โรคไข้เลือดออก෴ ซึ่งมีเจ้ายุงลายวายร้ายเป็นพาหะ โดยมักจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำขัง ต่างๆ ในช่วงนี้ จึงทำให้เด็กๆ เสี่ยงต่อการเป็นไข้เลือดออก พ่อแม่ควรศึกษาวิธีป้องกัน และใส่ใจดูแลสุขภาพของลูกน้อยเพื่อพร้อมรับมือ
ทำความรู้จัก ෳโรคไข้เลือดออก෴
โรคไข้เลือดออก เกิดจากไวรัสเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เดงกี่ 1,2,3 และ 4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค คือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้โรคแพร่สู่คนอื่นๆ ต่อไป ยุงลายนี้มักจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ หรือหลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น
3 กลุ่มอาการขวนสังเกต
ทำความรู้จัก ෳโรคไข้เลือดออก෴
โรคไข้เลือดออก เกิดจากไวรัสเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เดงกี่ 1,2,3 และ 4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค คือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้โรคแพร่สู่คนอื่นๆ ต่อไป ยุงลายนี้มักจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ หรือหลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น
3 กลุ่มอาการขวนสังเกต
- กลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ คือ อาการคล้ายติดเชื้อไวรัสทั่วไป มีไข้ หรืออาจมีผื่นร่วมด้วย
- กลุ่มอาการโรคเดงกี่ คือ จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา อาจมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง
- กลุ่มอาการโรคไข้เลือดออก คือ มีอาการไข้สูงอย่างต่อเนื่อง 39-41 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา และในรายที่อาการรุนแรงอาจพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดเกิดขึ้น
- เช็ดตัว ร่วมกับให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่าที่จำเป็น ไม่ควรรับประทานยาพาราเซตามอลถี่กว่าทุก 4 ชม./ครั้ง และไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน หรือยาลดไข้ไอบูโพรเฟน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของภาสะเลือดออก
- ดื่มน้ำเกลือแร่ และรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารสีดำหรือแดง เช่น น้ำแดง แตงโม ช็อคโกแลต เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันการสับสนว่าลูกอาเจียนเป็นเลือดหรืออาหาร
- ติดตามอาการ ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะช่วง 3-5 วัน หลังจากเริ่มมีไข้
- หากมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ไข้ลดแต่อาการไม่ดีขึ้น
- อาเจียนมากและปวดท้องมาก
- ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ
- ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่ายตัวและริมฝีปากเขียวคล้ำ
- ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย
- มีอารมณ์แปรปรวน เช่น ซึมลง โวยวาย พูดจาหยาบคาย หรือ ก้าวร้าวทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
สังเกตหนูสักนิด
ในเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 6 ขวบ) ถ้าปล่อยให้ลูกมีไข้สูงเป็นเวลานาน อาจทำให้ลูกเกิดภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)ได้
ที่มา http://www.siphhospital.com/th/news/article-details.php?id=53