สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้แก่ลูกรัก
ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) คือ ความรู้สึกที่เรามีต่อตนเองในทางที่ดี มีความเคารพและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของตนเอง การศึกษาทางจิตวิทยา พบว่า ความภาคภูมิใจในตนเองเป็นองค์ประกอบสำคัญทางจิตใจที่นำไปสู่ความเชื่อมั่นใน ตนเอง มองคนรอบข้างในแง่ดี รู้จักแสวงหาโอกาส กล้าคิด กล้าทำและใช้ความสามารถที่มีอยู่กระทำสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
ความภาคภูมิใจในตนเองเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะของมนุษย์ที่ถูกสร้างนับตั้งแต่ถือ
กำเนิดขึ้นมา
และมีการพัฒนาต่อเนื่องในทุกย่างก้าวของชีวิตโดยเฉพาะในวัยเด็ก ทั้งนี้
บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการเพาะบ่มความภาคภูมิใจในตนเองแก่หนูน้อยก็
คือคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
พ่อแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกรักมีความภาคภูมิใจในตนเองได้ ดังนี้
1. แสดงความรัก อ้อมกอดอบอุ่นของพ่อแม่ที่ช่วยให้
ทารกน้อยรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
ให้เกิดขึ้นในหัวใจดวงน้อยๆ ของลูก
อ้อมกอดนั้นเป็นสื่อแสดงถึงการยอมรับและการคุ้มครองปกป้องลูกน้อยที่พ่อแม่
หวงแหน นอกจากนี้ การสัมผัส กอด คลอเคลียใกล้ชิดและการหอม
จะทำให้ลูกรู้สึกถึงความรักความผูกพันที่พ่อแม่มีต่อตนเอง
ลูกน้อยจึงสามารถเริ่มเรียนรู้ถึงคุณค่าที่น่าภาคภูมิของตนได้อย่างมีความ
สุข
2. ยอมรับในลักษณะและตัวตนของลูก เนื่องจากเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่
มีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นสีผิว เส้นผมหน้าตา รูปร่าง พื้นฐานอารมณ์
หรือแม้แต่ข้อจำกัดและโรคประจำตัวที่เป็น
การยอมรับสิ่งเหล่านี้จากพ่อแม่เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับเด็กในการยอมรับความ
เป็นตนเอง
มองเห็นตนเองในทางบวกและไม่เก็บเอาข้อจำกัดมาเป็นปมด้อยบั่นทอนความภาคภูมิ
ใจหรือความพยายามในการพัฒนาตน
3. สังเกตและใส่ใจความสามารถหรือความถนัดของลูก พ่อ
แม่ควรสังเกตว่าลูกมีความสามารถและความชอบในเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น
ชอบเล่นกีฬา ชอบร้องรำทำเพลง ชอบวาดรูประบายสี ชอบคิดเลข ชอบอ่านหนังสือ
ฯลฯ
พ่อแม่ที่สังเกตและรู้จักลูกจะยอมรับและชื่นชมส่งเสริมความถนัดของลูกได้ดี
ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาความสามารถของลูกโดยตรงแล้ว
ยังช่วยพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองของลูกรักอีกด้วย
4. รับฟัง การรับ
ฟังและแสดงความสนใจในทุกๆ
เรื่องที่ลูกเล่าให้ฟังนั้นเป็นโอกาสของการสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษากายใน
ครอบครัว ท่าทีความใส่ใจจากพ่อแม่จะเป็นกำลังใจให้เด็กอยากคิด
อยากถ่ายทอดเรื่องราว
ซึ่งเป็นอีกส่วนสำคัญของการพัฒนาตนเองให้กล้าแสดงความคิดเห็นและภูมิใจใน
ความเป็นตัวเอง ดังนั้น พ่อแม่ควรรับฟังและสนใจสิ่งที่ลูกพูด
มีการชวนพูดคุยหรือการถามเพิ่มเติม และอย่าเบื่อหน่ายต่อการซักถามของลูก
5. ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง ใน
ระยะยาวเด็กๆ
จะมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งเมื่อตระหนักถึงคุณค่าและความสามารถของตนในการ
ดูแลรับผิดชอบตัวเองได้ดีในวัยที่เหมาะสม
การไม่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงความช่วยเหลือจากผู้อื่นทำให้เด็กมั่นใจในความ
สามารถและคุณค่าของตนยิ่งขึ้น
พ่อแม่จึงควรฝึกให้ลูกเริ่มเรียนรู้การช่วยเหลือตนเองตั้งแต่ยังเล็ก เช่น
ฝึกให้เด็กทานข้าวเอง แต่งตัวอาบน้ำเอง
เก็บของเข้าที่จนถึงการตื่นและเข้านอนเอง ทำการบ้านเอง
ดูแลการเรียนและการสอบได้เอง ฯลฯ
ความสำเร็จพื้นฐานเหล่านี้ในวัยเด็กจะเป็นรากฐานให้หนูน้อยรู้สึกถึงความรับ
ผิดชอบต่อตนเองและมีความคิดทางบวกว่าตนเองสามารถบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ
ในชีวิตได้อย่างมั่นใจ
6. เปิดโอกาสให้ลูกเลือกตัวเลือกเอง พ่อ
แม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกมีอิสระในการเลือกตัวเลือกต่างๆ
ในชีวิตตามความเหมาะสมของวัย โดยเริ่มตั้งแต่วัยก่อนสองขวบ เช่น
เริ่มจากการให้ลูกน้อยเลือกเสื้อผ้าใส่ด้วยตัวเอง
หรือเลือกหยิบหนังสือนิทานที่อยากอ่าน เลือกวิธีเก็บของเล่นหรือเครื่องใช้
ฯลฯ
เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเลือกแนวทางการเรียนหรือใช้ชีวิตเมื่อเติบโตขึ้น
การที่พ่อแม่อยู่เคียงข้างและเป็นผู้สนับสนุนการฝึกตัดสินใจของลูก
จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะการเลือกได้ดี
เป็นการส่งเสริมให้ลูกเป็นคนกล้าตัดสินใจและมีความมั่นคงในตนเอง
7. เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงออก พ่อ
แม่ควรส่งเสริมให้ลูกแสดงความสามารถ โดยเริ่มจากแวดวงเล็กๆ ในครอบครัว
และขยายโอกาสขึ้นเป็นการรู้จักแสดงออกอย่างเหมาะสมในที่ชุมชน เช่น
ชักชวนให้ลูกน้อยสนุกสนานกับการร้องเพลง เต้นรำที่บ้าน
และเรียนรู้การแสดงออกในเวทีกิจกรรมต่างๆ ตามวัย เช่น การพูดคุย
การแข่งขันกีฬาหรือมีกิจกรรมบันเทิงในงานเลี้ยงเล็กๆ น้อยๆ
ที่บ้านซึ่งจะถูกพัฒนาต่อเนื่องเป็นการแสดงความสามารถต่างๆ
ในเวทีของโรงเรียนหรือชุมชนที่กว้างขวางขึ้นในอนาคตต่อไป
การฝึกให้ลูกมีประสบการณ์เช่นนี้จะช่วยสร้างความคุ้นเคยและเพิ่มความมั่นใจ
ต่อความกล้าคิดกล้าทำและกล้าแสดงออกที่น่าภาคภูมิและเป็นประโยชน์ต่อไป
8. เพิ่มพูนประสบการณ์ดีๆ ที่แปลกใหม่ พ่อ
แม่ควรฝึกให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น
ให้ลูกลองเล่นเครื่องดนตรีหรือกีฬาที่ไม่เคยเล่นมาก่อน
หรือพาลูกไปเข้าค่ายศิลปะหรือค่ายภาษาอังกฤษช่วงปิดเทอม
พาลูกไปต่างจังหวัดหรือมีกิจกรรมนอกสถานที่ที่คุ้นเคยเป็นครั้งคราว
การที่ลูกได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ
และเห็นโลกที่กว้างขวางจะช่วยเปิดแนวคิดและพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองให้แก่
เด็กได้อย่างยิ่ง
9. ชมเชยและให้กำลังใจ หัวใจ
สำคัญที่สุดของการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง คือ
การที่เด็กได้รับการปลูกฝังวินัยทางบวก นั่นคือ
การได้รับคำชมเชยหรือกำลังใจเมื่อลูกทำสิ่งต่างๆ สำเร็จด้วยตนเอง
โดยสามารถเริ่มต้นได้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น ใส่รองเท้าเอง
ติดกระดุมเสื้อเอง แม้ว่าในระยะแรกๆ ลูกอาจจะทำผิดพลาดไปบ้าง
ท่าทีอ่อนโยนและสนับสนุนให้ลูกพยายามต่อเนื่องจนได้รับการชื่นชมจะทำให้ลูก
ค้นพบความสามารถและคุณค่าของตนจนเกิดเป็นความภาคภูมิใจในตนเองว่า
ความพยายามในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดีและควรกระทำ ทั้งนี้ ในเด็กเล็ก
อาจมีการให้รางวัลร่วมกับการชมเชยเป็นครั้งคราวได้ โดยการให้รางวัลนั้น
ไม่ควรเป็นสิ่งของราคาแพง
และต้องระมัดระวังไม่ให้พร่ำเพรื่อจนกลายเป็นการส่งเสริมให้เด็กนิยมวัตถุ
นอกจากนี้
ยังต้องไม่ใช้รางวัลเป็นเงื่อนไขหลอกล่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องการ
หรืออยู่ในรูปแบบของการให้สินบน
10. อย่าเปรียบเทียบ พ่อ
แม่ต้องระวังที่จะไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
โดยเฉพาะกับพี่น้องด้วยกัน เช่น การเปรียบเทียบ เพราะนอกจากจะบ่มความอิจฉา
น้อยเนื้อต่ำใจให้เกิดขึ้นแก่ลูกแล้ว
ยังเป็นการทำลายความมั่นใจและคุณค่าในตนเองแก่ลูกโดยตรงอีกด้วย
ความภาคภูมิใจในตนเองเป็นต้นทุนความก้าวหน้าและความสุขของชีวิตที่สามารถ พัฒนาได้ตั้งแต่เด็ก โดยพ่อแม่และผู้ใกล้ชิดของเด็กนั่นเอง ขอเพียงพ่อแม่มีความรัก ความใส่ใจและมีความสุขกับการติดตามย่างก้าวเล็กๆ ตามพัฒนาการของวัยเด็กด้วยความเข้าใจ ลูกรักจะเติบโตสู่ความมั่นคงในชีวิตที่พรั่งพร้อมด้วยความเก่ง ความดีและความสุขอย่างแน่นอน
เขียนโดย: พญ. อัมพร เบญจพลพิทักษ์ (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต)
ที่มา http://portal.aia.co.th