SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1435
เด็กปฐมวัย คือเด็กอายุ ๓ -๕ ปี พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที เอาว่าผมขอเอาเรื่องพัฒนาการในทุกด้านอันประกอบด้วยด้านร่างกาย, ด้านอารมณ์และจิตใจ, ด้านสังคม, และด้านสติปัญญา เป็นอันว่าครบทุกด้าน
เด็กปฐมวัยจัดอยู่ในระยะวัยทองของชีวิต โดยเฉพาะ 3 ปีแรก เป็นจังหวะทองของการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นการวางรากฐานของการพัฒนาความเจริญเติบโตทุกด้านโดยเฉพาะทางด้านสมอง เพราะสมองเติบโตและพัฒนาเร็วที่สุด ดังนั้นการอบรมเลี้ยงดูในช่วงระยะนี้มีผลต่อคุณภาพของคนตลอดชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการพัฒนาสมอง ที่สนับสนุนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงวัยเริ่มแรกของชีวิต เช่น การพัฒนาสมอง ซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงวัยนี้บทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การพัฒนากระบวนการคิด แนวคิดนวัตกรรมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (แนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม แนวคิดมอนเตสซอรี่ แนวคิดไฮสโคปแนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย) ตลอดจนมาตรฐานการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
องค์ความรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการพัฒนาสมอง จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย นับตั้งแต่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแล ผู้เลี้ยงดูเด็ก และบุคลากรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีแนวทาง หลักการที่ชัดเจนที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และร่วมมือกันพัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ให้แข็งแกร่ง เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ที่มีความสมบูรณ์พร้อมเป็นคนดี คนเก่ง ที่มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และประสบการณ์การเรียนรู้ ในช่วงเด็กปฐมวัย ยังเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในวัยต่อไป และการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ ๓ - ๕ ปี มีดังนี้
เด็กอายุ ๓ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
-ใช้กรรไกรมือเดียวได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
-รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
-เล่นสมมติได้
-รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ ได้
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
-รู้จักใช้คำถาม อะไร?
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ
-อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ ๔ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
-กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ชอบท้าทายผู้ใหญ่
-ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
-แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
-เล่นร่วมกับคนอื่นได้
-รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
-แบ่งของให้คนอื่น
-เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม?
เด็กอายุ ๕ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
-ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
-ยืดตัว คล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
-ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
-ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
-พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
-รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนก และ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม? อย่างไร?
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
-นับปากเปล่าได้ถึง ๒๐
ที่มาhttp://www.trueplookpanya.com
องค์ความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย คือเด็กอายุ ๓ -๕ ปี พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที เอาว่าผมขอเอาเรื่องพัฒนาการในทุกด้านอันประกอบด้วยด้านร่างกาย, ด้านอารมณ์และจิตใจ, ด้านสังคม, และด้านสติปัญญา เป็นอันว่าครบทุกด้าน
เด็กปฐมวัยจัดอยู่ในระยะวัยทองของชีวิต โดยเฉพาะ 3 ปีแรก เป็นจังหวะทองของการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นการวางรากฐานของการพัฒนาความเจริญเติบโตทุกด้านโดยเฉพาะทางด้านสมอง เพราะสมองเติบโตและพัฒนาเร็วที่สุด ดังนั้นการอบรมเลี้ยงดูในช่วงระยะนี้มีผลต่อคุณภาพของคนตลอดชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการพัฒนาสมอง ที่สนับสนุนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงวัยเริ่มแรกของชีวิต เช่น การพัฒนาสมอง ซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงวัยนี้บทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การพัฒนากระบวนการคิด แนวคิดนวัตกรรมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (แนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม แนวคิดมอนเตสซอรี่ แนวคิดไฮสโคปแนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย) ตลอดจนมาตรฐานการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
องค์ความรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการพัฒนาสมอง จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย นับตั้งแต่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแล ผู้เลี้ยงดูเด็ก และบุคลากรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีแนวทาง หลักการที่ชัดเจนที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และร่วมมือกันพัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ให้แข็งแกร่ง เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ที่มีความสมบูรณ์พร้อมเป็นคนดี คนเก่ง ที่มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และประสบการณ์การเรียนรู้ ในช่วงเด็กปฐมวัย ยังเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในวัยต่อไป และการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ ๓ - ๕ ปี มีดังนี้
เด็กอายุ ๓ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
-ใช้กรรไกรมือเดียวได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
-รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
-เล่นสมมติได้
-รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ ได้
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
-รู้จักใช้คำถาม อะไร?
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ
-อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ ๔ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
-กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ชอบท้าทายผู้ใหญ่
-ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
-แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
-เล่นร่วมกับคนอื่นได้
-รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
-แบ่งของให้คนอื่น
-เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม?
เด็กอายุ ๕ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
-กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
-ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
-ยืดตัว คล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
-ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
-ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
-พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
-รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนก และ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม? อย่างไร?
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
-นับปากเปล่าได้ถึง ๒๐
ที่มาhttp://www.trueplookpanya.com