SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1492

การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูก




การพูดคุย พ่อแม่ที่พูดคุยกับลูกตั้งแต่เล็กๆ จะมีโอกาสพัฒนาภาษาของลูกได้มาก จากการวิจัยพบว่าครอบครัวที่พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ ด้วยท่าทีที่ดี การพูดตอบกลับด้วยการอธิบายเพิ่มเติม จะช่วยให้ภาษาของลูกพัฒนาเร็วยิ่งขึ้น โดยเด็กจะมีโอกาสได้รับรู้จำนวนของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ถึง 13 ล้านคำ ครอบครัวที่ไม่ค่อยไดด้พูดคุยกับลูก เด็กจะมีการรับรู้จำนวนของเสียงน้อยกว่ากลุ่มแรกประมาณ 8 ล้านคำ หรือน้อยกว่า 62%
 
 
     ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกทุกวันเมื่ออยู่กับลูก ด้วยการเรียกชื่อลูก ชวนลูกพูดคุยในเรื่องใกล้ตัว ตั้งคำถามง่ายๆ ให้ลูกตอบ โดยใช้เหตุการณ์ที่ได้พบเห็นกับลูก เช่น "ดอกไม้นี่สีอะไรล่ะลูก" "จิ๊บ...จิ๊บ นี่เป็นเสียงร้องของอะไรน้า" "ที่เห็นในภาพนี้ เรียกว่าตัวอะไรจ๊ะ " หากลูกตอบไม่ได้ คุณแม่ก็บอกคำตอบให้เขา และบอกรายละเอียดสั้นๆ ง่ายๆ เพิ่มเติมของสิ่งที่เห็นในภาพ จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ และจดจำสิ่งนั้นๆ ได้มากขึ้น
 
 
 
     อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เด็กๆ จะมีความสนใจเสียง และภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ขวบ มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านของเขาในอนาคต
 
 
 
     ดังนั้น อุ้มลูกนั่งตักแล้วอ่านหนังสือด้วยกัน ลูกจะเห็นความแตกต่างระหว่างการพูดคุยธรรมดากับการอ่านหนังสือ ชี้ชวนให้ลูกดูรูปภาพ พร้อมตัวหนังสือที่เป็นคำบรรยาย การที่ลูกได้เห็นรูปภาพหรือตัวหนังสือต่างๆ ในหนังสือ จะช่วยให้เขาได้มองเห็นสัญลักษณ์ที่เป็นตัวหนังสือว่า มีความเชื่อมโยงกับภาษาพูดผ่านการเล่าเรื่อง แต่ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตั้งใจสอนให้ลูกอ่านหรือท่องจำตัวหนังสือหรือตัวเลขมาก เกินไป เพราะการที่เด็กท่องจำได้ตามที่ถูกสอนไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีความสามารถใน การอ่านในระยะถัดไปได้ดีกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน
 
 
 
     ความเข้าใจทางภาษาที่แตกฉานและสามารถใช้ภาษาพูดได้เป็นอย่างดี จะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อความรู้ความเข้าใจในการอ่านหรือเขียนมากกว่าเน้นการ ท่องจำเพียงอย่างเดียว ขณะอ่านหรือดูหนังสือกับลูก ควรเปิดโอกาสให้เขาหยิบจับ หรือหัดปิดหนังสือเองบ้าง
 
 
 
      อย่างไรก็ตาม ถ้าเด็กยังไม่พร้อมที่จะอ่านหนังสือด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้การเล่นอื่นๆ รวมทั้งการร้องเพลงหรือเล่าเรื่อง เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาแทนได้

หนังสือสำหรับลูกวัย 1-3 ขวบ
ขวบปีแรก 

     เป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆ ที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้

วัย 2-3 ปี 
     เป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เรียบเรียงเป็นบทกลอนสั้นๆหรือคำคล้องจอง ใช้ภาษาง่ายๆ เด็กวัยนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และการแยกแยะเสียงที่ดี เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี

อ้างอิงบทควา
ม: 
http://www.enfababy.com/