บทความจากนักศึกษา ෳอาสาสมัคร෴
ชีวิตอาสาสมัคร ช่วงเวลาแห่งประสบการณ์ ෳในแต่ละสังคมหรือชุมชนย่อมมีความเชื่อ วัฒนธรรม การสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรที่ต่างกัน෴ ประโยคนี้หลากคนคงจะเคยได้ยินกันมามากอย่างลื่นหูและคงคิดคล้อยตามอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งจากประสบการณ์ตรงของข้าพเจ้า ก็ได้พบเจออะไรในลักษณะนี้มาแล้วในสมัยเรียนชั้นปี 2 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ขณะที่เป็นอาสาสมัครดูแลสัตว์ป่าที่ได้รับบาดเจ็บและถูกทอดทิ้ง มูลนิธิเพื่อสัตว์ป่า จังหวัดเพชรบุรี การเป็นอาสาสมัครคราวนี้แตกต่างกับการเป็นอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้ายอย่างสิ้นเชิง ความรู้สึก ความเข้าใจ การแสดงออก สิ่งที่ได้รับ ก็ต่างกันมาก โดยเฉพาะทัศนคติในการมองเพื่อร่วมโลกอย่างเช่น หมี ช้าง ชะนี ฯลฯ ข้าพเจ้าจำได้ดีอย่างยิ่งโดยเฉพาะในวันแรกที่ไปถึง อาสาสมัครคนอื่น ๆ ในศูนย์ทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติ แต่ที่น่าตกใจคือ อาสาสมัครกว่าครึ่งนั้นเป็นวัยที่ไม่ห่างไปจากข้าพเจ้าเท่าไหร่นัก นั้นคืออยู่ในช่วงอายุ 19 ปีขึ้นไปแต่ก็คงไม่ถึง 30 ปี ครั้งเมื่อได้ลองถามว่าคิดของอาสาเหล่านั้นว่าคิดอย่างไรถึงได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากบ้านเกิดของตัวเองมาทำงานที่แสนลำบากและอากาศร้อน คำตอบของคนหลายคนก็คงไม่แตกต่างกันมาก คือ ต้องการหาบางสิ่งบางอย่างให้แก่ชีวิต เติมเต็มชีวิตที่ขาดหายไปควบคู่กับใจที่รักสัตว์ และต้องการให้การเดินทางครั้งนี้ทำให้ตัวเองได้รับประสบการณ์ที่เพียงพอจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต บ้างก็บอกว่า ในประเทศของเขาไม่มีสัตว์เหล่านี้ อย่าง ช้าง เสือ ในเมื่อมีเวลาก็อยากที่จะสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้บ้าง ซึ่งเวลาที่ใช้ในการเดินทางก็จะเป็นเวลาปิดเทอมจากการเรียนมหาวิทยาลัยหรือเวลาที่รอการตอบรับเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัย และเมื่อเสร็จจากการเป็นอาสาสมัครที่นี้หลายคนก็มีโครงการที่จะไปเที่ยวในเขตเอเชียต่ออย่าง เวียดนามหรือสิงค์โปร์ จากการเดินทางครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าอดีตที่ผ่านมาข้าพเจ้าเอาเวลาไปทำอะไรหมด ควบคู่กับการได้เห็นถึงคุณค่าทางความคิดวัยรุ่นต่างชาติที่วัยรุ่นไทยสมควรเอาเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิต และตัวอย่างทางความคิดที่ดีงาม ซึ่งข้าพเจ้าก็ขอเล่าประสบการณ์ส่วนหนึ่งจากการเดินทางครั้งนี้ให้ฟัง ชีวิตของอาสาสมัครดูแลสัตว์ป่าค่อนข้างจะเป็นชีวิตที่ตื่นเต้นและต้องลงทุนลุยต่อความสกปรกบ้างในยามที่จำเป็น โดยจะต้องตื่นแต่เช้าตั้งแต่ 5.30 น. เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการเริ่มงานแรกนั้นคือการเตรียมอาหารและทำความสะอาดกรงให้แก่บรรดาสัตว์ต่างๆ ในมูลนิธิเพื่อสัตว์ป่าตอน 6.30 น. และจะได้กินข้าวในเวลา 8.00 น. ซึ่งหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบในแต่ละวันจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ทางมูลนิธิจะจัดให้ อย่างเช่นมีอยู่วันหนึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนได้เข้าไปทำความสะอาดกรงที่มีนกเงือกอยู่ภายใน 4 ตัว แต่มีอยู่ตัวหนึ่งที่ชอบเล่นกับคน นกเงือกตัวนี้จะบินลงมาอยู่ต่ำๆ แล้วใช้ปากของมันกัดคน เป็นเรื่องโชคดีอย่างยิ่งที่ปากของมันไม่คม ไม่เสียอย่างงั้นแล้วเท้าของข้าพเจ้าก็คงขาดไป ซึ่งก็ยังมีประสบการณ์อื่นๆ อีกแต่ข้าพเจ้าคงไม่ขอเล่าในที่นี้ คำว่า ෳอาสาสมัคร෴ อาจเป็นคำเชยๆ คำหนึ่งที่วัยรุ่นไทยเมินเฉยและไม่รู้สึกอะไร ซึ่งถ้าพิจารณาโดยนามธรรมแล้ว ทุกคนก็สามารถกระทำได้อย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องกระทำเมื่ออยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ขอเพียงแค่มีสิ่งที่เรียกว่าจิตอาสา จิตอาสาในที่นี้คือความรู้สึกที่จะแบ่งปันความรักที่มีอยู่ในตัวเองให้แก่สิ่งอื่นๆ รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นเพื่อนมนุษย์ สัตว์ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยการไม่สนับสนุนการปล่อยควันพิษ หรือการไม่สนับสนุนการทำรุนแรงต่อสัตว์ ฯลฯ แต่จะแตกต่างกับผู้ที่ได้เป็นอาสาสมัครในหน่วยงานต่างๆ คือ ผู้ที่เป็นอาสาในหน่วยงานจะได้ประสบการณ์จริง ได้เข้าใจถึงความสูญเสีย เห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตอื่นมากขึ้น และท้ายที่สุดจะทำให้มองโลกได้กว้างขึ้น ดังนั้นข้าพเจ้าก็ขอเชิญชวนวัยรุ่นไทยถ้ามีโอกาสก็ลองเป็นอาสาสมัครเพื่อหาประสบการณ์ที่แตกต่างได้เช่นกัน ที่มา :: https://jitarsabank.wordpress.com
|