SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1630

รู้ทันโรคโลหิตจางในเด็ก


รู้ทันโรคโลหิตจางในเด็ก

รู้ทันโรคโลหิตจางในเด็ก thaihealth

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาตลอด

จากงานวิจัย ของกรมอนามัยปี 58 ได้สุ่มตรวจเลือดนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศกว่า 5,000 คน พบเด็กไทยทุก 100 คน จะมีผู้ที่โลหิตจางสูงถึง 30 คน

ที่สำคัญคือ เด็กที่ขาดธาตุเหล็กและโลหิตจาง เมื่อทดสอบศักยภาพความฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว พบมีไอคิวที่ต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง ยิ่งขาดธาตุเหล็กนาน ๆ โดยไม่รู้ตัวยิ่งมีผลเสียต่อสติปัญญา

ศ.นพ.ดร.อิศรางค์ นุชประยูร วิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญโรคเลือดในเด็ก กล่าวว่า ร่างกายเรามีธาตุเหล็กอยู่ในเม็ดเลือดแดงในรูปฮีโมโกลบิน และเก็บสะสมที่ตับ-ม้ามตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ ทารกแรกเกิดมีปริมาณ ฮีโมโกลบินสูง เมื่อคลอดแล้วทารกจะหยุดสร้างเลือด 6-8 สัปดาห์ แล้วจึงเริ่มสร้างเลือดโดยใช้ธาตุเหล็กที่สะสมไว้ตั้งแต่ขณะที่อยู่ในครรภ์ ธาตุเหล็กจะถูกใช้หมดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น ธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่จะไม่เพียงพอ ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กแก่ทารกและให้อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับและเลือด ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากธาตุเหล็กจำเป็นต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนวิธีป้องกันโลหิต จางในเด็ก แนะนำคุณพ่อคุณแม่ให้พาลูกไปตรวจเลือดเฉพาะค่า "ฮีโมโกลบิน" เมื่ออายุ 6-12 เดือน หากพบว่าโลหิตจางแล้วเริ่มรักษาด้วยธาตุเหล็กเลย

โลหิตจางจากการ ขาดธาตุเหล็กนั้น หากพบช้าก็จะเสียโอกาสพัฒนาศักยภาพของสมอง หากตรวจแล้วเลือดยังดีก็ควรเสริมธาตุเหล็กไว้ ด้วยยาหรืออาหาร

 ที่มา:www.thaihealth.or.th/สสส