มาทำความรู้จัก ෳไข้เลือดออก෴ ให้มากขึ้น
ทำความรู้จัก ෳไข้เลือดออก෴ ให้มากขึ้น
แต่ในความจริงแล้ว แพทย์โดยเฉพาะกุมารแพทย์คนไทย มีความรู้ความเข้าใจในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก และการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูง จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ อัตราตายของผู้ป่วยได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมีอัตราตายลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ซึ่งหมายถึง ถ้ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก 1,000 ราย จะมีผู้ป่วยเสียชีวิตไม่เกิน 5 ราย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ อาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวไว้ พร้อมอธิบายว่า
โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า ไข้เลือดออกเดงกี แต่ มักเรียกทั่วไปว่า "ไข้เลือดออก" เชื้อไวรัสเดงกีมี 4 ชนิดคือ เดงกี-1, เดงกี-2, เดงกี-3 และเดงกี-4 ทำให้คนเรามีโอกาสที่จะป่วยจากโรคไข้เลือดออกได้หลายครั้งไวรัสเดงกีเป็น เชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก แต่ตัวการที่แท้จริงหรือพาหะนำโรคที่สำคัญคือ "ยุงลาย"เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัดคน จะถ่ายทอดเชื้อให้คน ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมายุงลายมักออกหากินและกินเลือดคนในเวลากลางวัน และวางไข่ในน้ำสะอาดที่ขังนิ่ง
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีจำนวนไม่น้อยจะไม่แสดงอาการ ใดๆ ในขณะที่ผู้ติดเชื้อบางคนมีเพียงอาการไข้ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อเท่านั้นซึ่งเรียกว่า "ไข้เดงกี" กรณี ที่มีการรั่วของพลาสม่าหรือน้ำเหลืองออกจากเส้นเลือดของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น มีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง จะเรียกว่า "ไข้เลือดออก" ผู้ป่วยบางรายที่มีการรั่วของพลาสม่าจำนวนมากอาจมีภาวะช็อกร่วมด้วย
รศ.นพ.ชิษณุ เปิดเผยอีกว่าปัจจุบันการระบาดของโรคเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยการระบาดใหญ่ในบางปีอาจมีผู้ป่วยหลายแสนคน ปัจจัย ที่เกื้อหนุนให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว อุณหภูมิของโลกที่เปลี่ยนไป และความเป็นอยู่ที่แออัดของผู้คน ผู้ป่วยไข้เลือดออกพบได้ตลอดปี แต่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน และมักมีการระบาดใหญ่ทุก 3-5 ปี ปัจจุบันยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ป่วยไข้เลือดออกในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเดิมที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เปลี่ยนเป็นเด็กโต วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย ซึ่งส่งผลให้อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ระยะเวลาของไข้ยาวนานขึ้น พบอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการปวดศีรษะมากขึ้น ขณะที่อาการตับโตและภาวะช็อกที่พบบ่อยในเด็กเล็กพบน้อยลง
สำหรับอาการของผู้ป่วยไข้บางคนมีเพียงอาการไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว แล้วก็หายจากโรคโดยไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในขณะที่ผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งเกิดภาวะเลือดออกและมีภาวะช็อกร่วมด้วยจากการ ศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจุบันผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีความรุนแรงมักเกิดจากการติดเชื้อครั้งที่ สอง ผู้ป่วยที่มีปริมาณของไวรัสมากจะมีอาการของโรครุนแรง และเชื่อว่าไวรัสเดงกี-2 ทำให้เกิดการรั่วของพลาสม่าได้มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ส่วนไวรัสเดงกี-3 มักทำให้เกิดอาการทางสมองและ
รศ.นพ.ชิษณุ บอกอีกว่า อาการของโรคไข้เลือดออกจำแนกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะไข้ ระยะวิกฤติ และระยะพักฟื้น การ มีความรู้เกี่ยวกับระยะของโรคจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนในการ วินิจฉัยโรค การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น รวมทั้งช่วยให้สามารถพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมอาการที่สำคัญ ในระยะแรกของโรคไข้เลือดออกคือ อาการไข้สูงลอย หน้าแดง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และอาจมีภาวะเลือดออกร่วมด้วย อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏพร้อมๆ กัน จึงต้องเฝ้าติดตามเป็นระยะๆ ส่วนใหญ่จะชัดเจนและง่ายต่อการวินิจฉัยโรคมากขึ้น
เมื่ออาการไข้ดำเนินมาถึงวันที่ 3 ลักษณะที่สำคัญในผู้ป่วยไข้เลือดออก คือ อาการไข้สูงลอย "ไข้สูง" หมายถึง ไข้ที่สูงตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป "ไข้ลอย" หมายถึง ไข้ที่เป็นอยู่นานและไม่ลดลงจนเป็นปกติตลอดระยะไข้ของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง 39-40.5 องศาเซลเซียส หากได้รับยาลดไข้อาจทำให้ไข้ลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นดังนั้นผู้ป่วยที่มีประวัติไข้เป็นๆ หายๆ หรือผู้ป่วยที่มีไข้เฉพาะในเวลากลางคืนจึงมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกน้อย
การติดตามไข้เป็นระยะๆ โดยใช้ปรอทวัดไข้สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออกตำแหน่งที่พบเลือดออกได้ บ่อยคือ ผิวหนัง เยื่อบุจมูก ช่องปาก และกระเพาะอาหาร ภาวะเลือดออกในอวัยวะอื่นๆ รวมถึงเลือดออกในสมองพบได้น้อยมาก หากผู้ป่วยเป็นเพศหญิง อาจจะมีประจำเดือนมากหรือนานกว่าปกติ
ผู้ป่วยไข้ เลือดออกที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ การดื่มน้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำธรรมดาให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แนะนำให้จิบบ่อยๆ ทีละน้อย ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่มีสีแดงหรือสีดำ เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยอาเจียนอาจทำให้เข้าใจผิดว่าอาเจียนเป็นเลือดได้
ที่มา:www.thaihealth.or.th/สสส