ෳโรคซีด෴ ในบุคคล 3 วัย
ෳโรคซีด෴ ในบุคคล 3 วัย
โลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง หรือ
ที่คนทั่วไปมักเรียกว่า "ซีด" (Anemia or Anaemia)
ภาวะนี้ไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการของโรคต่างๆ มากมาย
ซึ่งอาการซีดสามารถพบได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงวัย
พ.ญ.ชมมณี ทองนุ้ย ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาจากสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้ความรู้ว่า โลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง หรือ ที่คนทั่วไปมักเรียกว่า "ซีด" (Anemia or Anaemia) ภาวะ นี้ไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการของโรคต่างๆ มากมาย ซึ่งอาการซีดสามารถพบได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงวัย พบได้ใกล้เคียงกันทั้งในเพศชายและหญิง และในประเทศไทยพบได้บ่อยถึงร้อยละ 30-50 ขึ้นอยู่กับภูมิภาค เช่นในภาคอีสาน มักมีประชากรเป็นโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย หรือในภาคใต้ซึ่งเป็นถิ่นพยาธิปากขอ อันเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของการเกิดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น
ปัจจุบันนี้คนยุคใหม่หันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพมาก ยิ่งขึ้น และด้วยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพได้ไม่ยาก จึงมีการตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งการตรวจร่างกาย เอกซเรย์ และการตรวจเลือด ในกลุ่มบุคคลที่ยังไม่มีอาการแสดงของโรคมากขึ้น และมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีคำถามชวนสงสัยในใจว่าทำไมผลตรวจสุขภาพถึงแจ้งว่ามี ภาวะซีด หรือเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทั้งๆ ที่เราเองก็แข็งแรงดี หรือทำไมเราจึงอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายทั้งที่อายุยังน้อย หรือทำไมจึงมีคนทักว่าซีด ทั้งที่เราก็เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิดและออกกำลังกาย ทำงานได้ปกติ จึงเป็นที่มาของคำถามที่น่าสนใจใคร่รู้ ที่แพทย์อายุรศาสตร์โรคเลือด ขอให้ข้อมูลอย่างง่ายต่อการเข้าใจของบุคคลทั่วไปดังนี้นะคะ
"ซีด" คืออะไร
ในที่นี้หมอขอตัดประเด็นผิวขาวซีดไม่อมชมพูตามเทรนด์ หนุ่มสาวสมัยใหม่ออกไป "ซีด" คือ ภาวะที่เลือดในร่างกายของเรามีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ในเลือดของคนเราจะประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ซึ่งทั้งสามส่วนนี้สร้างขึ้นมาจากไขกระดูก และน้ำเลือดหรือซีรั่ม เม็ดเลือดแดงที่ปกติเมื่อถูกสร้างจากในไขกระดูกแล้วจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด และมีอายุ 120 วัน จากนั้นก็จะถูกม้ามทำลายไปเมื่อหมดอายุ ในเม็ดเลือดแดงของเราจะประกอบไปด้วยโปรตีนสำคัญชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ฮีโมโกลบิน ที่มีธาตุเหล็กจับอยู่ด้วยและทำให้เม็ดเลือดมีสีแดง เจ้าโปรตีนฮีโมโกลบิน นี้ มีหน้าที่ นำออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถือเป็นของเสียจากการทำงานของอวัยวะ ต่างๆ กลับมาที่ปอดเพื่อขจัดออกนอกร่างกาย ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ
ในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางนั้น ในทางปฏิบัติจะใช้การเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับ ฮีโมโกลบินหรือ ค่าความเข้มข้นเลือดแดง (ฮีมาโตคริท) ซึ่งค่าปกตินั้นจะขึ้นกับ อายุ และเพศ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หากมีค่าน้อยกว่านี้ ก็วินิจฉัยว่าเป็นภาวะโลหิตจาง ดังแสดงตามตาราง
อายุ/เพศ |
ฮีโมโกลบิน (กรัม/เดซิลิตร) |
ฮีมาโตคริท (เปอร์เซ็นต์) |
แรกเกิด |
17 |
52 |
เด็ก |
12 |
36 |
วัยรุ่น |
13 |
40 |
ผู้ใหญ่ชาย |
16 (±2) |
47 (±6) |
ผู้ใหญ่หญิง (มีประจำเดือน) |
13 (±2) |
40 (±6) |
ผู้ใหญ่หญิง (หมดประจำเดือน) |
14 (±2) |
42 (±6) |
ผู้หญิงตั้งครรภ์ |
12 (±2) |
37 (±6) |
"ซีด" มีอาการอย่างไร
ด้วยแต่ละเพศและแต่ละช่วงวัย จะมีค่าปกติของปริมาณเม็ดเลือดแดงแตกต่างกันออกไป อาการที่แสดงออกจึงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะโลหิตจาง ระยะเวลาที่เกิดเลือดจาง อายุ ภาวะพื้นฐานของหัวใจ และสาเหตุที่ทำให้ซีด ในส่วนแรกนี้ขอพูดถึงอาการโดยรวมของภาวะซีด ยังไม่จำเพาะเจาะจงในรายละเอียดของอาการต่างๆ ซึ่งจะบ่งบอกถึงสาเหตุที่ซีดได้ต่อไป โดยอาจเริ่มจากไม่มีอาการใดๆ เลย มีเพียงผลการเจาะเลือดพบว่าปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าค่าปกติของช่วงอายุและ เพศนั้นๆ หรืออาจอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ เมื่อซีดมากขึ้นอาจมีผิว เยื่อบุตาและในช่องปาก ขาวซีดหรือเหลืองซีด หากอาการซีดรุนแรงมาก ก็จะเหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วตอนออกแรง จนอาจถึงขั้นทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ หรือหากเป็นโลหิตจางเรื้อรังในเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้าและสติปัญญาด้อยกว่าเกณฑ์ได้
ที่มา:www.thaihealth.or.th/สสส