SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1701

แนะ




สธ.แนะ มาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค จากยุงลายช่วงหน้าฝน เน้นป้องกันก่อนรักษา

นพ.ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค และตัวแทนชาติสมาชิกอาเซียน ร่วมกันเปิดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day) โดยปีนี้มีคำขวัญวันรณรงค์ว่า "ประชารัฐร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก"

นพ.ธวัชกล่าวว่า วันไข้เลือดออกอาเซียนตรงกับวันที่ 15 มิ.ย.ของทุกปี ซึ่ง 10 ประเทศอาเซียนจะร่วมกันรณรงค์ โดยหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ และปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนนวัตกรรม หาทางสู้กับโรคไข้เลือดออกให้สำเร็จ

โดยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศและ ภูมิภาคอาเซียน พบผู้ป่วย ปีละประมาณ 400,000 ราย เสียชีวิตประมาณ 2,000 ราย โดยเฉพาะในเดือนมิ.ย.เป็นหน้าฝน หลายพื้นที่ฝนตก มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ ทำให้จำนวนยุงเพิ่มขึ้น

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่ 1 ม.ค.- 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 18,337 คน เสียชีวิต 16 คน กรมควบคุมโรค คาดการณ์ว่าในปี 2559 นี้จะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี พบว่าจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 166,000 คน

ทั้งนี้ สธ. ได้เน้นย้ำโรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัด เข้มงวดการตรวจรักษาโรคไข้เลือดออกตามแนวทางการตรวจรักษาที่ได้จัดทำไว้ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง ฝากประชาชนหากป่วยมีไข้สูงลอย ไม่ควรกินยาลดไข้จำพวกแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน และหากกินยาแล้วไข้ไม่ลด อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้พบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรับการรักษาต่อเนื่องให้พ้นระยะอันตราย โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้เริ่มลด มีความเสี่ยงเกิดภาวะช็อกได้

ด้านนพ.อำนวย กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการมาตรการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้นตั้งแต่ต้นปี 2559 เป็นต้นมา โดยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกร่วมกับทุกภาคส่วนในชุมชน หมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เน้นการป้องกันโรคมากกว่าการเจ็บป่วยแล้วไปรักษา อาศัยความร่วมมือของประชาชนและทุกภาคส่วน ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เพื่อลดจำนวนยุงลายให้มากที่สุด ตาม มาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค ได้แก่ เก็บบ้านให้โล่ง อากาศปลอดโปร่งไม่ให้ยุงเกาะพัก เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้มีที่เพาะพันธุ์ยุง และเก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่ให้ยุงลายวาง

 
ที่มา : http://www.thaihealth.or.th