SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 1742






หากลูกวัย 7 ขวบ ร้องที่จะเล่นเกม หรือดูการ์ตูนในแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนของคุณพ่อคุณแม่อยู่ตลอดเวลา หากลูกวัย 10 - 12 ขวบ สายตาจดจ้องอยู่กับแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน ที่อยู่ในมือได้เป็นวัน ๆ โดยที่ไม่สนใจจะทำกิจกรรมอื่นเลย นั่นแสดงว่า ลูกของคุณกำลังเสพติดการเล่นแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนเข้าแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะหยุดและแยกลูกจากเครื่องมือสื่อสารดังกล่าวนี้ได้อย่างไร เราลองมาดูกันนะคะ
       
สัญญาณเตือนว่าลูกเสพติดแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน คือ

       
1. เริ่มดื้อร้องไห้งอแงเมื่อถึงเวลาที่ต้องทำกิจกรรมอื่น ๆ
       
2. ไม่อยากไปโรงเรียนแต่ต้องการอยู่บ้านเพื่อเล่นแท็บเล็ต หรือขอเอาแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนติดไปโรงเรียนด้วย
       
3. ไม่สามารถจะนั่งนิ่ง ๆ เมื่อเวลาออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยขอมีแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนเป็นตัวช่วยวางไว้ตรงหน้าเสมอ นั่นคือ สัญญาณเริ่มต้นที่บอกให้รู้ว่าลูกของเราติดแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนแล้ว


ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้มีผู้ปกครองมากมายที่มักใช้แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน เป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็กโดยการเอามันใส่ไว้ในมือของลูกเมื่อไปที่ร้านอาหารหรือเมื่อคุณพ่อคุณแม่กำลังยุ่งและไม่ต้องการให้ลูกมารบกวน

       
วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเทคนิคการแยกลูกออกจากเครื่องมือสื่อสารดังกล่าว ดังนี้

       
1. เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กเรียนรู้จากการมองดูมากกว่าการพูด ดังนั้น การปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของคุณพ่อคุณแม่จะทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมเหล่านั้น เมื่อลูกเห็นตัวอย่างว่าคุณพ่อคุณแม่ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีประโยชน์มากกว่าการเล่นแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนตลอดทั้งวัน ลูกก็จะเลียนแบบและทำตาม ดังนั้นในทุกช่วงเวลาของครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ควรกำจัดเครื่องมือสื่อสารออกไปและใช้เวลาพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับลูกจะดีกว่า
       
2. ทำกิจกรรมร่วมกับลูก ส่งเสริมให้ลูกได้ร่วมทำกิจกรรมกับโรงเรียน เช่น การเล่นกีฬา การเข้าร่วมวงดนตรี การเข้าร่วมชมรมศิลปะ ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้วก็ยังดีและมีคุณค่ากว่าการปล่อยให้ลูกใช้เวลาจมอยู่กับเล่นแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนทั้งวันโดยไม่ได้อะไรเลย
       
3. ออกกฎของบ้านและกำหนดเวลาชัดเจน คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ดูแลบ้านและสร้างกฎระเบียบต่าง ๆ ภายในครอบครัว โดยควรมีกฎชัดเจนว่าทุกคนในครอบครัวจะไม่เล่นแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนตลอดเวลา โดยคุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาว่าลูกสามารถเล่นแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนได้เวลาไหนและมากน้อยเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น ก่อนเวลาทานอาหารเย็นเราต้องเตือนลูกล่วงหน้าว่าจะถึงเวลาทานอาหารเย็นแล้วอีก 10 นาที ให้วางแท็บเล็ตลง การเตือนล่วงหน้าจะทำให้ลูกรู้จักการวางแผนและเรียนรู้การเคารพสิทธิส่วนบุคคลด้วย
       
4. ทำรหัสผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และ สมาร์ทโฟน คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งรหัสไว้เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปเล่นหรือดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ ได้ตามอำเภอใจ
       
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในที่ที่ทุกคนสามารถจะมองเห็นได้ เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะทราบว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่และสามารถจะกำหนดเวลาได้ว่าลูกควรจะเล่นเวลาใดและนานแค่ไหน
       
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดูแลลูกโดยการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น อ่านหนังสือนิทานด้วยกัน ทำอาหารด้วยกัน ปลูกต้นไม้/เลี้ยงสัตว์ด้วยกัน ออกไปท่องเที่ยวด้วยกัน ล้วนเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ อีกทั้งช่วยให้ลูกหยุดและลดการเล่นแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนได้อย่างไม่ยากเลย


.::ที่มา::.ดร.แพง ชินพงศ์ / โดย MGR Online    
http://astv.mobi/AnZAZqL