SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 349
"ร้อนใน" หมายถึงอะไร จริงๆนั้น ร้อนในหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ มันเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงออกมา ให้เรารู้ว่า ร่างกายเราไม่สมดุลแล้ว เราต้องดูแลให้ร่างกายกลับไปสู่สมดุลสักที แล้วเราจะรักษาโรคร้อนในที่ว่ามานี้ได้อย่างไร?
อาการร้อนในที่พบเห็นกันบ่อยที่สุดน่าจะเป็น ร้อนในแผลในปาก ลักษณะจะเป็นแผลวงรีสีขาวใหญ่หรือเล็ก อาจจะมีมากกว่า 1 แผล บริเวณกระพุ้งแก้ม ด้านในริมฝีปาก เหงือกและลิ้น
อาการของคนที่เป็นร้อนใน
ปวดแสบปวดร้อน เจ็บ ทรมานทานอาหารไม่ได้ บางคนมีไข้เล็กน้อย มีขี้ตาแฉะเวลาตื่นนอน ท้องผูกและมีอาการเจ็บคอกระหายน้ำบ่อย ซึ่งจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะรักษาหรือไม่รักษาก็หายได้ทั้งนั้น แต่ผู้เป็นร้อนในมักจะทนทรมานไม่ไหวจึงหายามาทาหรือมากินบรรเทาอาการดัง กล่าว
สาเหตุของร้อนในแผลในปากที่พบได้บ่อยคือ
1. พักผ่อนน้อย นอนดึกตื่นเช้า
2. ท้องผูก หรือขับถ่ายไม่เป็นเวลา
3. ทานอาหารรสจัด มัน หรืออาหารทอดบ่อยๆ
สาเหตุดังกล่าวทำให้ร่างกายไม่สมดุล เกิดอาการร้อนในได้ เคยอ่านจากหนังสือบางเล่มบอกว่า คนจีนเรืยกโรคร้อนในว่า โรคหยาง คนที่เป็นโรคหยาง มักจะเป็นคนที่มีธาตุหยาง (ร้อน) แล้วไปทานอาหารกลุ่มที่เป็นหยาง เช่น อาหารรสจัด อาหารมัน อาหารทอด เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน ทำให้เป็นโรคหยาง ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นร้อนในหรือโรคหยางให้หลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว ไปทานพวกกล้วย เต้าหู้ แตงกวา ส้ม ฟักทอง แตงโม มะเขือเทศ ฟัก ถั่วเขียว ขึ้นฉ่าย หรืออาหารจำพวกหยินต่างๆแทน
วิธีการรักษาอาการร้อนใน
1. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด มัน หรืออาหารทอด
2. ดื่มน้ำเยอะๆ เพราะคนที่เป็นร้อนใน น้ำลายจะเหนียวข้น และรู้สึกกระหายน้ำ
3. ทายาในกลุ่มสเตียรอยด์ ไตรแอมซิโนโลน อะเซโตไนต์ เช่น Kenalog, Trinolone ป้ายปากที่ผสมขึ้ผึ้ง ยาพวกนี้จะไปอุดแผล ไม่ให้กระทบกระเทือนมาก แผลจะได้หายไวๆ หรือยาที่เป็นยาชาอ่อนๆ เช่นพวกเจล Bonjela จะช่วยบรรเทาอาการปวดลดลง
4. ใช้น้ำอุ่นผสมเกลือ กลั้วปาก เช้าเย็น ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้บ้าง
5. ยาแผนโบราณเช่น ยาขม ยาเขียว หรือ ยาหวานต่างๆ จะชงหรือเม็ดรับประทานก็ได้ ไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้อักเสบแผนปัจจุบัน เช่น amoxicillin เพราะเป็นยาฆ่าเชื้อ ไม่ตรงกับความต้องการรักษาโรค ในบางคนอาจจะต้มถั่วเขียวรับประทานวันละ 1 ถ้วย เพื่อปรับสมดุลหยินและหยางในร่างกายก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสังเกตุเห็นว่าเริ่มมีอาการผิดปกติมากกว่าร้อนในธรรมดา คือมีไข้สูงมาก เป็นเรื้อรังเกินกว่า 2 อาทิตย์ หรือเป็นแผลแต่ไม่รู้สึกปวดหรือแสบร้อน ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอาการแผลในปากที่เราเป็นนั้น เพราะบางทีอาจจะเกิดจากผลข้างเคึยงของโรคอื่นๆก็เป็นได้
ร้อนในแผลในปาก
"ร้อนใน" หมายถึงอะไร จริงๆนั้น ร้อนในหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ มันเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงออกมา ให้เรารู้ว่า ร่างกายเราไม่สมดุลแล้ว เราต้องดูแลให้ร่างกายกลับไปสู่สมดุลสักที แล้วเราจะรักษาโรคร้อนในที่ว่ามานี้ได้อย่างไร?
อาการร้อนในที่พบเห็นกันบ่อยที่สุดน่าจะเป็น ร้อนในแผลในปาก ลักษณะจะเป็นแผลวงรีสีขาวใหญ่หรือเล็ก อาจจะมีมากกว่า 1 แผล บริเวณกระพุ้งแก้ม ด้านในริมฝีปาก เหงือกและลิ้น
อาการของคนที่เป็นร้อนใน
ปวดแสบปวดร้อน เจ็บ ทรมานทานอาหารไม่ได้ บางคนมีไข้เล็กน้อย มีขี้ตาแฉะเวลาตื่นนอน ท้องผูกและมีอาการเจ็บคอกระหายน้ำบ่อย ซึ่งจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะรักษาหรือไม่รักษาก็หายได้ทั้งนั้น แต่ผู้เป็นร้อนในมักจะทนทรมานไม่ไหวจึงหายามาทาหรือมากินบรรเทาอาการดัง กล่าว
สาเหตุของร้อนในแผลในปากที่พบได้บ่อยคือ
1. พักผ่อนน้อย นอนดึกตื่นเช้า
2. ท้องผูก หรือขับถ่ายไม่เป็นเวลา
3. ทานอาหารรสจัด มัน หรืออาหารทอดบ่อยๆ
สาเหตุดังกล่าวทำให้ร่างกายไม่สมดุล เกิดอาการร้อนในได้ เคยอ่านจากหนังสือบางเล่มบอกว่า คนจีนเรืยกโรคร้อนในว่า โรคหยาง คนที่เป็นโรคหยาง มักจะเป็นคนที่มีธาตุหยาง (ร้อน) แล้วไปทานอาหารกลุ่มที่เป็นหยาง เช่น อาหารรสจัด อาหารมัน อาหารทอด เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน ทำให้เป็นโรคหยาง ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นร้อนในหรือโรคหยางให้หลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว ไปทานพวกกล้วย เต้าหู้ แตงกวา ส้ม ฟักทอง แตงโม มะเขือเทศ ฟัก ถั่วเขียว ขึ้นฉ่าย หรืออาหารจำพวกหยินต่างๆแทน
วิธีการรักษาอาการร้อนใน
1. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด มัน หรืออาหารทอด
2. ดื่มน้ำเยอะๆ เพราะคนที่เป็นร้อนใน น้ำลายจะเหนียวข้น และรู้สึกกระหายน้ำ
3. ทายาในกลุ่มสเตียรอยด์ ไตรแอมซิโนโลน อะเซโตไนต์ เช่น Kenalog, Trinolone ป้ายปากที่ผสมขึ้ผึ้ง ยาพวกนี้จะไปอุดแผล ไม่ให้กระทบกระเทือนมาก แผลจะได้หายไวๆ หรือยาที่เป็นยาชาอ่อนๆ เช่นพวกเจล Bonjela จะช่วยบรรเทาอาการปวดลดลง
4. ใช้น้ำอุ่นผสมเกลือ กลั้วปาก เช้าเย็น ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้บ้าง
5. ยาแผนโบราณเช่น ยาขม ยาเขียว หรือ ยาหวานต่างๆ จะชงหรือเม็ดรับประทานก็ได้ ไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้อักเสบแผนปัจจุบัน เช่น amoxicillin เพราะเป็นยาฆ่าเชื้อ ไม่ตรงกับความต้องการรักษาโรค ในบางคนอาจจะต้มถั่วเขียวรับประทานวันละ 1 ถ้วย เพื่อปรับสมดุลหยินและหยางในร่างกายก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสังเกตุเห็นว่าเริ่มมีอาการผิดปกติมากกว่าร้อนในธรรมดา คือมีไข้สูงมาก เป็นเรื้อรังเกินกว่า 2 อาทิตย์ หรือเป็นแผลแต่ไม่รู้สึกปวดหรือแสบร้อน ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอาการแผลในปากที่เราเป็นนั้น เพราะบางทีอาจจะเกิดจากผลข้างเคึยงของโรคอื่นๆก็เป็นได้