SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 421

หยุดรังแกผู้สูงวัย


        คนไทยให้ความสำคัญกับความกตัญญูกตเวทีโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปคนก็เปลี่ยนตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม จากที่เคยนับถือหรือยำเกรงผู้สูงอายุก็เริ่มแสดงออกด้วยการทอดทิ้ง ไม่ใส่ใจดูแล การตวาดตะคอกใส่ และถึงขั้นลงมือลงไม้จนกลายเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ ในความเป็นจริงยังมีความรุนแรงอีกหลายกรณีที่ถูกปกปิดหรือเก็บเงียบด้วยคติที่ยึดถือว่า ෳไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า෴ หรือ ෳเรื่องครอบครัวคนอื่น เราไม่ควรยุ่งเกี่ยว෴ ...แต่เราจะทนให้ผู้สูงอายุในบ้านมีชะตากรรมเช่นนี้หรือ ?!
       ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีประมาณ 7.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 12% ของประชากรทั้งหมด และในอนาคตก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว ดังนั้นปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรปล่อยให้เป็นปัญหาส่วนตัวที่ใครใคร่แก้ก็แก้ไป และจากประเด็นดังกล่าว ศ.ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล นักวิชาการด้านประชากรศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความเห็นเรื่องความรุนแรงต่อผู้สูงอายุที่ตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพคนไทย 2552 ของ สสส. ว่า ෳนิยามของความรุนแรงต่อผู้สูงอายุมีการให้ความหมายที่แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน กฎหมายหรือความเห็นของนักวิชาการ แต่โดยรวมหมายถึงการกระทำใดๆ ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลทำให้เกิดความทุกข์ทางกาย จิตใจ อารมณ์และสุขภาพ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ และเกิดชั่วคราวหรือต่อเนื่อง เช่น การปล่อยปละละเลย การเพิกเฉยต่อการดูแลที่จำเป็น การทำร้ายร่างกาย การพูดจาก้าวร้าว การละเมิดสิทธิและเอาประโยชน์ต่อทรัพย์สิน เป็นต้น

         จากการศึกษาและวิจัยความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในระดับชาติในกลุ่มประเทศที่เจริญแล้วช่วงปี ค.ศ.1990 อย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฟินแลนด์ ฯลฯ พบว่า มีผู้สูงอายุเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวประมาณ 4-6 % ในส่วนของประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจังในระดับชาติมากนัก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี พ.ศ.2545 ทีมวิจัยของมหาวิทยาขอนแก่นสำรวจเรื่องความรุนแรงต่อผู้สูงอายุใน 4 จังหวัดภาคอีสานพบว่าผู้สูงอายุมากกว่า 400 คนจาก 959 คนเคยถูกกระทำรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในปี พ.ศ.2546 มีการศึกษาวิจัยลักษณะความรุนแรงที่มีต่อผู้สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิพบว่า ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบด้านอารมณ์และจิตใจมากที่สุดจากการตวาด ข่มขู่ รองลงมาคือถูกทอดทิ้ง ไม่มีเงินให้ใช้จ่ายและต้องเลี้ยงดูหลานตามยถากรรม อันดับที่ 3 คือการถูกเอาเปรียบด้านทรัพย์สิน อันดับต่อมาคือถูกทำร้ายร่างกาย เช่น ตบตี หรือไม่พาไปหาหมอยามเจ็บป่วย และสุดท้ายการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และล่าสุดปี พ.ศ.2550 ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้สำรวจความเสี่ยงความรุนแรงในครอบครัวผู้สูงอายุทั่วประเทศจำนวน 50,058 ราย พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เคยได้รับการกระทำที่รุนแรงทางด้านกายและจิตใจมีรายละเอียดดังนี้

ผลการกระทำรุนแรงด้านร่างกายและจิตใจ

เปอร์เซ็นต์

บังคับ ขู่เข็ญ

46.9

ฉุดกระชาก

21.1

ทุบตี

11.7

ไม่ได้รับอาหารรับประทาน

10.2

ถูกกักขัง

9.2

และจากการสำรวจยังพบว่า ผู้ที่ทำร้ายร่างกายผู้สูงอายุมากที่สุดคือลูก (37%) รองลงมาคือ คู่สมรส (30.4%) ญาติพี่น้องและหลาน (13.2%) ส่วนผู้ที่ทำร้ายจิตใจของผู้สูงอายุ ลูกเป็นกลุ่มแรกที่ติดอันดับเช่นกัน (35.6%) รองลงมาคือญาติพี่น้อง (24.7%) และเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (2.6%) !สาเหตุสำคัญของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนี้มาจากบุคลิกภาพส่วนตัวที่เป็นคนอารมณ์ร้อนหรือติดการพนัน เสพสิ่งเสพติดหรือดื่มสุรา รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลทำให้เกิดความเครียด เป็นต้น และเมื่อผู้สูงอายุได้รับผลกระทบที่เกิดจากการกระทำที่รุนแรง ช่วงแรกส่วนใหญ่จะปฏิเสธและไม่ยอมรับความจริง ต่อมาจะเงียบซึมและเก็บตัว และหากได้ผลกระทบอย่างต่อเนื่องก็จะแสดงออกทางด้านสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับ กินไม่ลงและอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น แต่ก็ใช่ว่าผู้สูงอายุจะไม่มีส่วนที่ทำให้เกิดความรุนแรงภายในบ้าน โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาสุขภาพ ทำให้หงุดหงิด ขี้บ่น หวาดระแวง เอาแต่ใจตัวเองและดุด่าว่ากล่าวเมื่อลูกหลานสนองความต้องการไม่ได้ดั่งใจ ยิ่งถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับสมองอย่างโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ผู้สูงอายุก็มีปัญหาบุคลิก นิสัยที่เปลี่ยนแปลงไป บกพร่องในการควบคุมอารมณ์ การใช้เหตุ-ผล ทำให้ลูกหลานไม่เข้าใจ เบื่อหน่าย ทอดทิ้งจนถึงขั้นลงไม้ลงมือในที่สุด

            ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อการกระทำที่รุนแรงจากสมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ทั้งผู้ดูแลและได้รับการดูแลจำเป็นต้องมองปัญหาแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา และที่สำคัญควรหาแนวทางแก้ไขร่วมกับพี่น้องหรือญาติๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่บ้านมีร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสุขภาพที่ดี เช่น การพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ทั่วไป การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อคลายความเครียด การปฏิบัติธรรม ฯลฯ หรือแม้แต่การโทรศัพท์ปรึกษาปัญหากับสายด่วยกรมสุขภาพจิต โทร.1667 และที่สำคัญหากพบว่าผู้สูงอายุได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม อย่านิ่งเฉยและโทรไปแจ้งได้ที่ศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center : OSCC) โทร.1169 

ที่มา:http://healthtoday.net

วันที่ 21 มีนาคม 2553