SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 422

'โรคกรดไหลย้อน'


ในระยะเวลา 4-5 ปี มานี้เราเริ่มได้ยินโรคกรดไหลย้อนกันมากขึ้น เพราะเป็นโรค  ที่ใกล้ตัวคนทุกคนมาก ลักษณะอาการคล้าย คนเป็นโรคกระเพาะ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ ที่ก้าวล้ำทันสมัยทำให้สามารถวินิจฉัยแยกโรคและรักษาโรคกรดไหลย้อนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่สมัยก่อนมักเรียกกันว่าโรคกระเพาะ คือมีอาการ จุกเสียด แน่นท้อง หรือแสบร้อน ซึ่งโรคกระเพาะจะเป็นโรคประจำตัวของคนส่วนใหญ่ เนื่องจากการทานอาหารที่เผ็ด ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้ร่างกายหลั่งกรดออกมากัดกระเพาะอาหาร แต่ปัจจุบันได้มีการแยกโรคกรดไหล ย้อนออกมาชัดเจน โดยต่างจากโรคกระเพาะ ตรงที่โรคกระเพาะจะมีอาการจุก เสียด แน่นท้อง แต่โรคกรดไหลย้อนนอกจากอาการดังกล่าวแล้ว ยังมีกรดไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ซึ่งปัจจุบันคนเป็นโรคนี้กันมากขึ้น การรักษาก็มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยสามารถตรวจรักษาโรคนี้ได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย  ดังนั้นเราจึงควรมาทำความเข้าใจกับโรคกรดไหลย้อนนี้อย่างละเอียดกันดีกว่า
   
ෳโรคกรดไหลย้อน෴ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมีของเหลวอะไร ก็ได้ (ส่วนใหญ่เป็นกรด 80-90% จึงเรียกว่า   ෳโรคกรดไหลย้อน෴ ส่วนน้อยเป็นด่าง) ที่อยู่ ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร  ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีร่องรอยของการอักเสบของหลอดอาหารก็ได้
   
ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา โรคกรด ไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease: GERD) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย โดยพบความชุกเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า คือ พบมีความชุกประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการจุกเสียดแน่นท้อง (Dyspepsia)
   
แม้ในปัจจุบันจะมียาที่ให้ผลในการรักษาค่อนข้างดีแต่ลักษณะโรคมักเรื้อรัง และเป็น ๆ หาย ๆ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็นนานมาเป็นสิบปีบางรายอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งของหลอดอาหารส่วนปลายได้อีกด้วย

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน คืออะไร?
   
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปสู่บริเวณหลอดอาหาร ซึ่งกลไกหนึ่งคือ การทำงานของ กล้ามเนื้อหูรูดที่บริเวณส่วนต่อระหว่างกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร  (Lower esophageal sphincter) ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายประตูป้องกันไม่ให้อาหารและกรดหรือด่างในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน กล้ามเนื้อหูรูดนี้จะหย่อนตัวลงทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลกลับเข้าไปในหลอดอาหารได้โดยง่าย
   
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราเป็นโรคกรดไหลย้อน คือ พฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้ชีวิตแบบชาวตะวันตก ตื่นเช้ามาก็เร่งรีบไปทำงาน ไม่ค่อยกินข้าว กินแต่ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต สูบบุหรี่ แถมยังชอบ กินอาหารมื้อเย็นหนัก ๆ แล้วก็นอนทันที ไม่ได้รอระยะเวลาเพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านกระเพาะอาหารไปก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ทำให้มีอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา หลอดอาหารส่วนปลายมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไปซึ่งสามารถกลายเป็นมะเร็งได้ต่อไปในอนาคต เรียกภาษาอังกฤษว่า ෳBarrett#o#s esophagus෴ หลอดอาหารส่วนปลายจะมีการอักเสบเรื้อรังจนมีพังผืดเกิดขึ้น ทำให้กลืนติดหรือกลืนลำบากได้
   
หากท่านมีอาการเหล่านี้ พึงระวังไว้ว่าน่าจะมีภาวการณ์เป็นโรคกรดไหลย้อนได้ อาทิ อาการแสบยอดอก (Heartburn) ขย้อนหรือสำรอก (Regurgitation) รู้สึกเปรี้ยว (กรด) หรือขม (ด่าง) ในปาก หรือบริเวณช่องคอด้านหลัง มีอาการเรอ จุก เสียด แน่น มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอกจนบางท่านสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจ มักตื่นด้วยอาการดังกล่าวในเวลากลางคืน
     
ส่วนอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาจไม่จำเพาะว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน แต่เป็นอาการที่อาจเป็นผลมาจากโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
     
1.อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะต้องตื่นมาไอตอนกลางคืน เป็นต้น
     
2.อาการทางระบบ หู คอ จมูก เช่น มีเสียงแหบหรือเจ็บคอในตอนเช้า มีกลิ่นปาก เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนทำได้อย่างไร?   
   
หลังจากแพทย์ซักประวัติ และตรวจ ร่างกายแล้วพบว่า ท่านมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรค กรดไหลย้อน เป็นอาการเตือนหรือสัญญาณอันตราย เช่น
   
1.กลืนลำบาก
   
2.กลืนเจ็บ
   
3.อาเจียนบ่อย ๆ
   
4.อาเจียนเป็นเลือดหรือมีอาการซีด
   
5.น้ำหนักลด
   
ท่านควรให้แพทย์สืบค้นเพิ่มเติมทันที ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น เพราะอาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารซ่อนอยู่
          
ถ้าไม่มีภาวะดังกล่าวแพทย์ก็จะให้ยาในกลุ่มออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการสร้างกรดในกระเพาะอาหารโดยตรง (Proton Pump Inhibitor) ทำให้ลดปริมาณกรดที่จะไหลย้อนกลับเข้าไปสู่หลอดอาหาร
   
ส่วนทางแก้ไขโรคกรดไหลย้อนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นไม่มากก็ให้ลดปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน เช่น ลดชา กาแฟและของมัน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น  ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัว และเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารมาเป็นมื้อเช้า กลางวัน เย็น มื้อละไม่ต้องมาก แค่ให้พออิ่ม เพื่อให้มีอาหารในกระเพาะอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายไม่ต้องทำงานหนัก สามารถย่อยอาหารได้หมด ที่สำคัญคือ ก่อนนอน 2-3 ชั่วโมงควรงดอาหาร ส่วนคนที่เป็นมากหน่อยก็อาจใช้ยาลดกรดช่วย และถ้าเป็นหนัก ๆ ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจด้วยเครื่องตรวจกรดไหลย้อน (24hr pH monito ring) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ผลแม่นยำมากว่า กรดที่ไหลย้อนออกมานั้นเป็นกรดหรือด่าง แล้วค่อยทำการผ่าตัดถ้ามีข้อบ่งชี้ว่ามีกรดหรือด่างไหลย้อนขึ้นมาเกินระดับจริง ซึ่งปัจจุบันการ  ผ่าตัดโรคนี้พัฒนาไปมาก สามารถใช้วิธีการส่องกล้องเข้าไปกระชับหูรูดให้แข็งแรงและมีแผลเพียงเล็ก ๆ นอน รพ.เพียง 1-2 วัน การดูแลตนเองอย่างรู้เท่าทัน ไม่สุขสบายตรงไหนหมั่นสังเกตรักษาที่สาเหตุจะทำให้เรามีสุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี มีพลังในการปฏิบัติงานต่อไป

ที่มา:เดลินิวส์ออนไลน์

วันที่ 22 มีนาคม 2553