SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 460

บุหรี่กับโรคในช่องปาก


 

สูบด้วย ดื่มด้วย เสี่ยงมะเร็งช่องปาก 6-15 เท่า

          โรคเหงือกอักเสบ เนื้อตายแบบเฉียบพลัน ผู้สูบบุหรี่ จะมีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบเนื้อตายแบบเฉียบพลันมากกว่าปกติ ทั้งๆ ที่ดูแลช่องปากตามมาตรฐานปกติ และเมื่อเป็นแล้ว อาการของโรคก็จะรุนแรงกว่าเช่นกัน

 

 

          น้ำลาย บุหรี่ส่งผลให้ปริมาณการไหลของน้ำลายลดลง และน้ำลายมีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้นนอกจากนั้นยังพบว่า ความสามารถต้านทานกรดของน้ำลายก็ลดลงด้วย

 

 

          ฟันผุ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการสูญเสียฟันธรรมชาติสูงกว่าปกติ และในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ ก็มีความสัมพันธ์กับการมีจำนวนฟันผุสูงขึ้นด้วย

 

 

          การรับรสและกลิ่น การสูบบุหรี่ทำให้ความสามารถในการรับรสและกลิ่นเลวลง และยังเป็นสาเหตุสำคัญของการมีกลิ่นปากอีกด้วย

 

 

          การหายของแผล การสูบบุหรี่ ทำให้แผลในช่องปากหายช้า รวมถึงการสมานแผลภายหลังการรักษาทางทันตกรรม เช่น การถอนฟัน และการเกลารากฟัน เพราะควันบุหรี่ทำให้ปริมาณการไหลเวียนโลหิต และปริมาณสารเคมีที่สำคัญต่างๆ ในเลือดลดลง

 

 

          โรคปริทันต์ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างยิ่ง ในการเกิดโรคปริทันต์ โดยผู้สูบบุหรี่มักจะเป็นโรคปริทันต์รุนแรงที่รากผันด้านเพดานปาก อาจมีหนองหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้มาก แม้จะไม่มีแผ่นครบจุลินทรีย์หรือหินปูนเลยก็ตาม

 

 

          ปฏิกิริยาต่อภูมิคุ้นกันโรคของร่างกาย บุหรี่ทำให้เม็ดเลือดขาวบางประเภท ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคลดลงและทำให้อัตราการทำลายเชื้อบางชนิดของร่างกายลดลงเช่น อัตราการทำลายเชื้อ Staphylococcus autrus ลดลงจาด 3.1 ตัวต่อนาทีเหลือเพียง 1.3 ตัวต่อนาทีและยังพบปริมาณเชื้อโรคบางชนิดสะสมมากขึ้นด้วย

 

 

          มะเร็งช่องปาก ควันบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งโดยตรงผู้ที่สูบบุหรี่แต่ไม่มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากขึ้น 2-4 เท่า แต่ถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากขึ้น ตั้งแต่ 6-15 เท่าของคนทั่วไป

 

ที่มา: สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

วันที่: 31 มี.ค.53