มารู้จักกับ
โรคไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบ บี คืออะไร
ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีทั่วโลก ประมาณ 350-400 ล้านคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบบี สูง เช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอัฟริกา ประมาณร้อยละ 6 -10 ของประชากรทั้งหมด คิดเป็นจำนวน 6-7 ล้านคน
ในประเทศไทยการรับเชื้อส่วนใหญ่จากมารดาเป็นพาหะติดต่อสู่ทารกตอนคลอด เนื่องจากในวัยเด็กภูมิคุ้มกัน ยังไม่ดีพอ โอกาสกำจัดเชื้อไวรัสได้ยาก นอกจากนี้สามารถติดต่อได้ทางเลือด เช่น การรับเลือดและผลิตภัณฑ์ ของเลือด (การติดต่อทางเลือดนี้ลดลงมาก นับตั้งแต่มีการตรวจคัดกรองเมื่อบริจาคเลือด) จากเข็มฉีดยา การฝังเข็ม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อนี้สามารถตรวจพบได้ในน้ำตา น้ำมูกในโพรงจมูก น้ำอสุจิ เยื่อเมือกช่องคลอดเลือดประจำเดือน และน้ำคร่ำ ดังนั้นจึงสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์และเมื่อมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งดังกล่าว ไม่ติดต่อทางการรับประทานร่วมกัน โอกาสติดเชื้อได้น้อยมาก
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะมีอาการอย่างไรและมีโอกาสหายหรือไม่ระยะฟักตัวของโรคตับอักเสบไวรัส บี ประมาณ 50-180 โดยเฉลี่ย 90 วัน หลังได้รับเชื้อบางท่านอาจไม่มีอาการผิดปกติอะไร แต่รู้ว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ บีจากการตรวจเช็คร่างกาย หรือบริจาคเลือด บางรายมีอาการตับอักเสบ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดท้องเฟ้อ อ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ และตามมาด้วยอาการตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะเข้ม อาการจะหายภายใน 1-4 สัปดาห์ บางรายอาจเป็นนานถึง 6 สัปดาห์ ภายใน 10 สัปดาห์การทำงานของตับส่วนใหญ่กลับสู่ปกติ และมีภูมิคุ้มกัน และส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงจนตับวายและเสียชีวิต
ถ้าได้รับเชื้อในวัยเด็กโอกาสจะหายน้อย มีโอกาสกลายเป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรังได้ร้อยละ 50-90 เมื่อเทียบกับถ้าได้รับเชื้อในวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 5-10 ผู้ที่เป็นพาหะหรือตับอักเสบ บีเรื้อรังส่วนหนึ่งจะมีการดำเนินโรคกลายเป็นโรคตับแข็ง เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่น น้ำในช่องท้อง ตาเหลืองตัวเหลือง เลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร มีอาการซึมสับสนทางสมอง ตับวาย รวมถึงมะเร็งตับ การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ บีการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี
โดยการตรวจการทำงานของตับ (liver function test) โดยเฉพาะ AST, ALT และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ (HBsAg) ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ในผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี เพื่อประเมินระยะ ความรุนแรงของไวรัสและภาวะแทรกซ้อน และวางแผนการรักษา ได้แก่ การตรวจ HBeAg และ anti-HBe เพื่อดูการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส หรือการกลายพันธุ์ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส (HBV DNA) เพื่อประกอบการรักษา การตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อบอกความรุนแรงของตับอักเสบ และมะเร็งตับจากการตรวจหาอัลฟาฟีโตโปรตีน (AFP) ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์ตับ
ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบบี
|