อึ้ง! คนไทยกินยาอื้อซ่า เพิ่มมากกว่าศก.โต
อึ้ง! คนไทยกินยาอื้อซ่า เพิ่มมากกว่าศก.โต
คนไทยกินยาอื้อซ่า เพิ่มมากกว่าศก.โต (ไทยโพสต์)
สวรส.ร่วมมือ อย.วิจัยระบบยา พบคนไทยบริโภคยารวมมูลค่า 134,482,077 ล้านบาท มากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นยาปฏิชีวนะมากที่สุด 2.6 หมื่นล้าน รองลงมาเป็นยาโรคหัวใจ ความดันรองลงมา ชี้เป็นผลจากคนไทยป่วยโรคเรื้อรังเพิ่ม และระบบบัตรทองทำให้คนเข้าถึงยาดีขึ้น
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า คณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักงานคระกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกันทำวิจัยและพัฒนาระบบยาใน ทำให้เห็นว่าคนไทยมีการบริโภคยาสูงขึ้นเรื่อย ๆ
โดยในปี 2553 พบว่า คนไทยบริโภคยาสูงถึง 134,482,077 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งถือว่าเพิ่มในอัตราที่รวดเร็วและสูงกว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพด้านอื่น และเป็นการเติบโตที่มากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ประธาน สวรส.กล่าวต่อว่า สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการบริโภคยาเพิ่มขึ้นคือ
1. การเปลี่ยนแปลงของโรคที่ปัจจุบันเกิดโรคเรื้อรังที่ต้องทานยาเป็นจำนวนมากและนาน
2.การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ซึ่งยังก่อให้เกิดการดื้อยาตามมาด้วย
3.การมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงยามากขึ้น จากที่เมื่อก่อนประชาชนไม่ค่อยทานยาเพราะต้องซื้อทานเอง แต่เมื่อมีการเข้าถึงยามากขึ้น การบริโภคยาจึงเยอะขึ้นตามมา โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการที่มีค่าใช้จ่ายด้านยาสูงกว่าทุกกลุ่ม
และ 4. การผูกขาดทางด้านยาด้วยการมีสิทธิบัตรยา และการทำซีแอลยา โดยพบว่าจำนวน 2 ใน 3 เป็นยานำเข้าจากต่างประเทศ
นพ.สุวิทย์กล่าวต่อด้วยว่า ขณะนี้ยาที่มีการนำเข้ามากที่สุดคือ
1.ยาปฏิชีวนะ นำเข้าประมาณ 26,000 ล้านบาท
2.ยากลุ่มโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง นำเข้าประมาณ 21,000 ล้านบาท
3.ยากลุ่มทางเดินอาหาร นำเข้าประมาณ 17,000 ล้านบาท
4.ยากลุ่มโรคมะเร็ง นำเข้าประมาณ 15,000 ล้านบาท
และ 5. ยากลุ่มกล้ามเนื้อและกระดูก นำเข้าประมาณ 12,000 ล้านบาท
ด้าน นพ.พงษ์พิสูทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส.กล่าวว่า การวิจัยอย่างเป็นระบบจะทำให้ระยะยาวมีตัวเลขการใช้ยาอย่างรวดเร็ว และขั้นตอนต่อไปจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและใช้ยาตามหลักเกณฑ์ของแพทย์ ส่วนราคายาที่แพงในปัจจุบันเนื่องจากปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกการตลาดได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้พยายามซึ่งเราพยายามพัฒนาระบบซึ่งยาที่นำเข้ามากที่สุด
ที่มา