How Doctors Think แพทย์คิดอย่างไร (1)(ประชาชาติธุรกิจ)
How Doctors Think แพทย์คิดอย่างไร (1)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย พ.ญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร naaplim2@hotmail.com
หลายเดือนติดต่อกันที่บทความและข่าวหนังสือพิมพ์ไทยเขียนถึงประเด็นความ
สัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยอยู่เนืองๆ
จนกระทั่งเกิดข่าวใหญ่ขึ้นเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมานั่นคือ
เด็กนักเรียนไทยที่สอบเข้าแพทย์ได้สละสิทธิถึงกว่า 27%
แม้แต่เด็กที่สอบได้ที่ 1 ก็ยังปฏิเสธที่จะเรียนแพทย์
โดยขอเลือกเรียนทุนเล่าเรียนหลวงในสาขาอื่นก่อน
นี่คงเป็นประเทศแรกในโลกก็ว่าได้ที่เกิดการสละสิทธิการเข้าเรียนในสาขาอาชีพ
ที่เคยได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลกสาขาหนึ่งมากมายขนาดนี้
นักวิจัยและหนังสือพิมพ์ต่างตื่นตัวที่จะหาข้อมูลว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงไม่
อยากเป็นแพทย์ แต่กลับไม่เคยมีใครมาถามว่าแพทย์ที่ทำงานกันอยู่คิดอย่างไร
เป็นไปได้หรือไม่ว่าเมื่อเด็กที่สนใจจะเข้าเรียนแพทย์มาผ่านการฝึกงานที่โรง
พยาบาลแล้วพบว่า การเป็นแพทย์มิได้ดีอย่างที่คิด
สิ่งที่พวกแพทย์บอกกับเด็กๆ สภาพในโรงพยาบาล
หรือข่าวหนังสือพิมพ์กันแน่ที่ทำให้พวกเด็กๆ
ท้อใจจนไม่ต้องการที่จะเป็นแพทย์อีกต่อไป
โดยทั่วไปนั้นเวลาที่ผู้คนรู้สึกเป็นปกติดีอาจไม่เคยอยากทราบว่าแท้ที่จริง
แล้วพวกแพทย์คิดอย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องไกลตัว
แต่เมื่อพวกเขาหรือญาติป่วยและต้องเผชิญหน้ากับแพทย์จริงๆ
พวกเขาส่วนใหญ่มักสงสัยว่าแพทย์คิดอย่างไรเกี่ยวกับโรคและตัวเขา
หนังสือขนาด 307 หน้าที่ชื่อ How Doctors Think ของ Dr.Jerome Groopman
หัวหน้าหน่วยอายุรกรรมแห่งโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด และนักเขียนประจำนิตยสาร
New Yorker, New York Times และ Washington Post
ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี 2550 มีคำตอบ
นอกจากนี้หนังสือยังตอบคำถามอื่นๆ อีก เช่น
แพทย์แต่ละคนในแต่ละสาขาคิดเหมือนกันหรือไม่
อารมณ์ชอบหรือไม่ชอบผู้ป่วยส่งผลต่อการคิดหรือตัดสินใจของแพทย์หรือไม่ ฯลฯ
คนรุ่นเก่ามักบ่นว่าเด็กรุ่นใหม่ขาดความสามารถและความเข้าใจอย่างถ่องแท้
สถานการณ์นี้ก็เกิดขึ้นในวงการแพทย์เช่นกัน
ผู้เขียนเห็นว่าข้อแตกต่างในการเรียนรู้ระหว่างแพทย์รุ่นใหม่และแพทย์รุ่น
เก่าคงเป็นความบกพร่องโดยธรรมชาติ
ทั้งนี้เพราะการสอนนักเรียนแพทย์ในอดีตมิได้มีการสอนถึงวิธีคิดออกมาตรงๆ
หากเป็นการเฝ้าสังเกตว่าแพทย์รุ่นพี่ทำอย่างไร
เหมือนการเฝ้าสังเกตช่างไม้แกะสลักอย่างไรอย่างนั้น
น้อยครั้งนักที่แพทย์รุ่นพี่จะอธิบายให้แพทย์รุ่นน้องหรือแพทย์ฝึกหัดที่
เฝ้าสังเกตวิธีการดูแลผู้ป่วยของพวกเขา เข้าใจว่า พวกเขาคิดอย่างไร
ต่อมาวิธีที่แพทย์สอนกันได้พัฒนามาจนกระทั่งมีแนวทางการปฏิบัติการรักษาซึ่ง
จะบอกวิธีการติดตาม
ทีละขั้นตอนในการตรวจและรักษาเสมือนติดตามวิธีการคิดนั่นเอง
วิธีการนี้จะเริ่มต้นเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการใดอาการหนึ่ง
แพทย์จะติดตามกิ่งก้านสาขาตามแนวทางการปฏิบัตินี้ไปเรื่อยๆ
จนสุดท้ายพวกเขาจะได้การวินิจฉัยโรคและแนวทางการรักษาโรคนั้นๆ
อย่างไรก็ดี
การหาคำวินิจฉัยโรคโดยวิธีนี้อาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกคน
ทั้งนี้เพราะไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนมาด้วยอาการตามแนวทางการรักษา
ผู้ป่วยบางคนอาจมาด้วยอาการที่คลุมเครือหรือมีความซับซ้อนมากกว่าปกติ
แพทย์จึงมีความจำเป็นต้องคิดให้ออกไปนอกกรอบเพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้
แต่ปัจจุบันการที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้แนวทางการปฏิบัติการรักษานี้เป็นหลัก
ทำให้แพทย์ไม่สามารถที่จะคิดหรือรักษานอกกรอบได้มากนัก
ส่งผลให้การรักษาขาดประสิทธิภาพ
ทั้งนี้เพราะการรักษาผู้ป่วยเป็นศิลปะและแพทย์อาจสามารถให้การดูแลผู้ป่วย
ได้โดยใช้เพียงแค่ประสบการณ์โดย
ไม่จำเป็นต้องทำตามแนวทางการปฏิบัติการรักษาทั้งหมดก็ได้
ผู้เขียนเห็นว่าการที่นักเรียนแพทย์และแพทย์ฝึกหัดต้องทำตามรายการของแนวทาง
การรักษาตลอดเวลาอาจทำให้แพทย์รุ่นใหม่ๆ ไม่สามารถคิดได้กว้างและรอบคอบ
เมื่อวิธีคิดของแพทย์เป็นสิ่งที่แพทย์มิได้รับการสั่งสอนมาในโรงเรียนแพทย์
ผู้เขียนจึงสนใจศึกษาถึงวิธีการคิดของแพทย์
เขาพบว่าแท้ที่จริงแล้วพวกแพทย์ส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่าตนเองคิดอย่างไร เดบรา
โรเตอร์ ศาสตราจารย์ทางด้านนโยบายสุขภาพและการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น
ฮอปส์กิน ได้ศึกษาวิธีการสื่อสาร ของแพทย์หลากหลายสาขาจากวีดิทัศน์กว่า
1,000 ตลับ พบว่าแพทย์คิดอย่างไรสามารถดูได้จากวิธีการที่เขาพูดและฟัง
รวมทั้งภาษากายทั้งของเขาเองและของ ผู้ป่วย
การตั้งคำถามและการตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้ป่วยเป็นกุญแจสำคัญที่จะกระตุ้น
ให้ผู้ป่วยตอบสนองหรือถอยหนี หากแพทย์กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูด
ผู้ป่วยจะรู้สึกสะดวกใจในการเล่าเรื่องของตัวเอง
แต่หากผู้ป่วยถูกปิดกั้นไม่ให้พูด
แพทย์ย่อมขาดหลักฐานสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัย
นอกจากนี้โรเตอร์พบว่าแพทย์มักขัดจังหวะมิให้ผู้ป่วยพูดหลังจากที่พวกเขาพูด
ได้เพียงแค่ 18 วินาทีเท่านั้น
นอกจากนี้
คนทั่วไปมักคิดว่าแพทย์จะ ไม่มีอารมณ์ใดๆ ในขณะตรวจรักษา
ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จูดี ฮอลล์ นักสังคมวิทยาพบว่า
ไม่ว่าแพทย์และผู้ป่วยจะชอบกันหรือไม่
ความรู้สึกระหว่างกันนี้ยากที่จะปิดบัง
ผู้ป่วยทราบดีว่าแท้ที่จริงแล้วแพทย์รู้สึกกับพวกเขาอย่างไรจากลักษณะท่าทาง
ที่แพทย์แสดงออก เช่น สีหน้า ท่าทาง
ธรรมชาติของแพทย์นั้นจะชอบผู้ป่วยที่แข็งแรงที่สุด
และผู้ป่วยที่ป่วยมากที่สุดจะเป็นผู้ป่วยที่แพทย์ไม่ชอบมากที่สุด
ทั้งนี้เพราะแพทย์จะรู้สึกล้มเหลวเมื่อพวกเขาไม่สามารถที่จะรักษาผู้ป่วยได้
ผู้ป่วยที่ป่วยมากที่สุดจึงมักสร้างความ กระสับกระส่ายให้กับแพทย์
เพราะมันทำให้ดูเหมือนว่าความพยายามของพวกเขาไร้ความหมาย
นอกจากนี้นักสังคมวิทยายังพบว่า
ความสามารถและความเห็นอกเห็นใจมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของแพทย์
เมื่อสิ่งที่แพทย์ทำคือการพูดคุย
การสื่อสารย่อมไม่สามารถแยกออกจากคุณภาพทางการรักษาได้
ความสามารถของแพทย์จึงไม่สามารถแยกออกจากทักษะในการสื่อสารได้
ในบทที่ 1ผู้เขียนพูดถึงความสำคัญของวิธีคิดและการรับรู้ ผลการศึกษาของโรเบิร์ต
แฮมม์ จากสถาบันวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความทรงจำที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด
พบว่าอาจารย์แพทย์และแพทย์รุ่นพี่ทั้งหลายไม่เคยคิดเหมือนอย่างตอนที่เขาสอน
นักศึกษาแพทย์เลย โดยเฉพาะในขณะที่เขาต้องพบผู้ป่วยหนักตรงหน้า
ทั้งนี้เพราะวิธีการสอนนักศึกษาแพทย์โดยทั่วๆ ไปต้องใช้เวลาประมาณ 20-30
นาทีกว่าอาจารย์จะสามารถสรุปให้นักศึกษาทราบว่าผู้ป่วยเป็นอะไรกันแน่
แต่ในสถานการณ์จริงนั้นแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยผู้ป่วยฉุกเฉินได้ภายใน
เวลาเพียง 20 วินาที และหากไปถามพวกแพทย์ว่าพวกเขาคิดได้อย่างไร
พวกเขามักตอบว่าไม่ทราบเพราะมันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ดร.แพท ครอสแกร์รี
อดีตแพทย์ห้องฉุกเฉินใน แฮลิแฟกซ์กล่าวว่า
กุญแจสำคัญที่บ่งบอกถึงปัญหาของผู้ป่วยจะรวมกันเป็นรูปแบบที่จะทำให้แพทย์
สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้
การจดจำรูปแบบจะสะท้อนเป็นการรับรู้อย่างทันทีทันใดเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูด
เหล็กจากทุกทิศทางซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเป็นวินาทีโดยปราศจากความรู้สึกว่าได้
ผ่านการวิเคราะห์ นี่คือวิธีการประเมินผู้ป่วยของแพทย์นั่นเอง
โดนัลด์ โชน ศาสตราจารย์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
ผู้ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ในวิชาชีพต่างๆ
พบว่าแพทย์จะมีกระบวนการรับรู้แตกต่างจากวิชาชีพอื่นๆ เช่น นักเศรษฐศาสตร์
แพทย์จะไม่เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยจนเสร็จสิ้นก่อนเริ่มตั้งสมมติฐาน
พวกเขาจะคิดถึงการวินิจฉัยทันทีที่พวกเขาเผชิญหน้ากับผู้ป่วยโดยจะเริ่มต้น
ประเมินตั้งแต่สีหน้าท่าทาง ความสุภาพ การนั่ง การสอดส่ายสายตา เสียง
ลักษณะการหายใจ ผลการศึกษาพบว่าแพทย์ส่วนใหญ่จะได้ข้อวินิจฉัยมา 2-3
อย่างในขณะประเมินผู้ป่วย แต่แพทย์เก่งๆ อาจได้ข้อวินิจฉัยมาถึง 4-5 อย่าง
ซึ่งพวกเขาจะตั้งสมมติฐานเสร็จสมบูรณ์หลังจากได้ข้อมูลครบถ้วน
โดยทั่วไปแล้วแพทย์มักคิดว่าการตัดสินใจทางการแพทย์เป็นการตัดสินใจอย่างมี
เหตุผลและปราศจากอารมณ์
ความผิดพลาดทางการแพทย์จึงน่าจะเกิดจากปัญหาทางด้านเทคนิค
แต่ผลการศึกษากลับพบว่าปัญหาทางด้านเทคนิคก่อให้เกิดความผิดพลาดทางการแพทย์
ได้น้อยกว่าความผิดพลาดที่เกิดจากการคิดและความรู้สึก
ทั้งนี้เพราะความเครียดและความรู้สึกของแพทย์อาจจะบดบังและปิดกั้นความ
สามารถในการรับฟังปัญหาของผู้ป่วย จนส่งผลให้
ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคที่ผิดหรือช้ากว่าปกติ
จนทำให้เกิดความเสียหายกับผู้ป่วยได้
(1)
ที่มา :วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 4000 (3200)