SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 927

รู้จัก


รู้จัก ෳภาวะใจสั่น෴

 

ภาวะใจสั่น คือการรับรู้การเต้นของหัวใจเร็วหรือแรงขึ้น การรู้สึกอาจกินเวลาเป็นวินาที นาที ชั่วโมง หรือเป็นวัน ซึ่งอาจมีสาเหตุโดยการเต้นของหัวใจช้าเกินไป เร็วเกินไป แรงเกินไป หรือเต้นผิดจังหวะมากกว่าปกติ ภาวะใจสั่นพบได้บ่อยและส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย การเต้นที่ผิดจังหวะมักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวงจรไฟฟ้าของหัวใจ โดยอาจเกิดจาก หลอดเลือดในหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ การเสื่องของลิ้นหัวใจ หรือเกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติของตัวมันเอง

ในถาวะปกติของการเต้นของหัวใจ อยู่ภายใต้จุดกำเนิดออโตเมติกหรือจุดกำเนิดไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่เรียกว่า เอสเอ โหนด ซึ่งอยู่ที่หัวใจห้องขวาบน ถ้ามีจุดอื่นๆ ในหัวใจสามารถก่อกำเนิดจุดไฟฟ้าเองได้เรียกว่า การกระตุกหรือการกระตุ้นไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งจะรู้ได้ง่ายช่วงออกกำลังกาย ขณะที่มีการหลั่งสารอดรีนาลินออกมา หรือขณะอยู่เฉยๆ ช่วงที่หัวใจเต้นช้าหรือมีการเบี่ยงเบนจากการเต้นให้ใจช่วงที่ปกติ อาจจะเป็นช่วงของปกติได้ที่จะมีการเต้นผิดจังหวะบ้างและบางคนก็รับรู้ได้ว่ามีการกระตุกของหัวใจ

สารกาเฟอีน เหล้า ภาวะเครียด อ่อนเพลีย ภาวะขาดสารน้ำ เจ็บป่วย ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานมากเกินไป และยาบางชนิด อาจกระตุ้นภาวะใจสั่นมากขึ้น การเต้นของหัวใจเร็วเกินไปหรือใจเต้นเร็วที่เกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติมักเกิดขึ้นในทันทีทันใด และหยุดทันทีทันใด บางครั้งเป็นการยากที่จะชี้วัดได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดและหยุดเมื่อใด

ภาวะหัวใจเต้นเร็วมากๆ อาจจะมีการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อย หรือเวียนศีรษะ บางครั้งหัวใจเต้นเร็วมากจนไม่สามารถพยุงความดันโลหิต ก็อาจเกิดอาการหน้ามืด เวียนศรีษะได้

ถ้าอาการเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ เริ่มต้นและหยุดทันทีทันใด โดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ หรือสัมพันธ์กับอาการเวียน วูบ หน้ามืด มักเกิดจากวงจรไฟฟ้าเต้นผิดปกติ มากกว่าภาวะตื่นเต้น เครียด หรือการออกกำลังกาย ซึ่งมักมีการเต้นเร็ว ค่อยๆ เป็น และบ่อยๆ เต้นช้าลง

การวินิจฉัยเพื่อค้นหาว่ามีการเต้นของหัวใจผิดปกติบ้างไหมที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหัวใจเต้นแรงได้ช่วงที่ตะแคงซ้ายในช่วงกลางคืน หรือระหว่างที่ตื่นเต้นตกใจ หรือช่วงเครียด วิธีที่ดีที่สุดของการวินิจฉัยคือการทำกราฟหัวใจช่วงเกิดอาการ ถ้าอาการผิดปกตินานพอที่จะไปทำกราฟหัวใจที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือถ้าเป็นไม่นานพอก็อาจต้องติดการเต้นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงไปที่บ้าน นอกจากนี้การเดินหรือวิ่งสายพานอาจจะพบกับการเต้นผิดปกติขณะที่มีการบันทึกการเต้นหัวใจ

การรักษา

การรักษาหัวใจในภาวะใจสั่นขึ้นอยู่กับการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันขนาดไหน และรุนแรง หรืออันตรายของการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ในภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง คงจะไม่ต้องใช้ยา คงให้แค่คำแนะนำหรือการแก้ไขบางอย่าง เช่น การเป่าลมไปที่ทวาร หรือใช้ใบหน้าจุ่มลงไปในน้ำเย็น 1-2 นาที ถ้าอาการเกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติ เป็นบ่อยหรือรุนแรงก็อาจจะต้องใช้ยา หรือการจี้เส้นด้วยกระแสไฟฟ้าหรือสายเย็น เพื่อทำให้วงจรไฟฟ้านั้นหายไป

การจี้ คือการใส่สายสวนขนาดเล็กๆ จี้ที่ขาหนีบไปที่ภายในห้องหัวใจ เพื่อค้นหาจุดกำเนิดที่ผิดปกติแล้วทำการจี้ด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อให้จุดกำเนิดนั้นหายไป บางครั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจต้องใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวงจรไฟฟ้าจะช่วยในการตัดสินใจในการรักษาท่าน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก