SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 954

กระดูกพรุน


กระดูกพรุน

 

 

เรามักคิดกันอยู่เสมอว่า ෳกระดูก෴ คือ ส่วนแข็งแรงที่สุดของร่างกาย ทำให้ต่างหันมาสนใจกับการดูแลสุขภาพตรงส่วนอื่นๆของร่างกายแทน แต่ใคร จะรู้บ้างว่าจริงๆ แล้วเมื่อถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง กระดูกที่ว่าแข็งแรงก็อาจเปราะ บาง และอ่อนแอลง กลายเป็นปัญหาใหญ่คอยบั่นทอนสุขภาพ จนคุณเองอาจคาดไม่ถึง

เนื่องจากสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทาง สาธารณสุขที่มีความสำคัญกับประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด โดยผู้หญิงมีโอกาส กระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40% ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสกระดูกหักแค่ 13% ดังนั้น หัวใจหลักของการป้องกันโรคกระดูกพรุน คือ การสร้างกระดูกที่แข็งแรง และลดการสลายของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอายุก่อน 35 ปี ควรมีมวลกระดูกอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่มวลกระดูกจะลดต่ำลง จนถึงจุดที่ทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่ายได้

สำหรับบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศหญิง วัยหลังหมดประจำเดือน, หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี และประจำเดือนมาไม่ปกติ เพศชาย ที่มีระดับฮอร์โมนเทสโตเทอโรนต่ำ และมีอายุมากกว่า 50 ปี บุคคลทั่วไปที่มีลักษณะรูปร่างผอม หรือมีโครงร่างเล็กมีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนมีประวัติกระดูกหักหลังการบาดเจ็บ เพียงเล็กน้อย เช่น กระดูกข้อมือหักหลังการหกล้ม, มีภาวะข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์, ได้รับยาที่มีผลลดความแข็งแรงของกระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยาต้านชัก ยาฮอร์โมนธัยรอยด์, ขาดอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม, สูบบุหรี่, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน และไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ

วิธีที่จะช่วยเพิ่มมวลกระดูก มีดังนี้

1.เพิ่มปริมาณการบริโภคแคลเซียมและวิตามินดี จากอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม และวิตามินดีหรืออาหารเสริม

2.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาและกุ้งแห้งตัวเล็ก ปลาซาดีน งาดำ กะปิ งาขาว เนยแข็ง กุ้งแห้ง นมวัว โยเกิร์ต เต้าหู้ขาว อ่อน ผักใบเขียว ส้มเขียวหวาน เป็นต้น

เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน และควรตรวจความหนาแน่นของกระดูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยประเมินอัตราการสร้าง และอัตราการสลายของกระดูกแล้ว ยังหาสาเหตุร่วม อื่นที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ