SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 965

มือชา อาการไม่ธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ


มือชา อาการไม่ธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ

 

อาการมือชาอาจเกิดขึ้นกับคุณได้ ถ้าอยากรู้ว่า มือชาเกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีป้องกัน หรือรักษาได้หรือไม่ ตามมารู้จักอาการมือชา จาก นพ.ภานุพันธ์ ทรงเจริญ กันเลย

          โรคมือชา เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยวัยกลางคน โดยมากมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าชาย ซึ่งเกิดจากการใช้งานของมือในลักษณะที่ต้องมีการกระดกข้อมือ หรือกำยืดนิ้วมือตลอดวัน ซึ่งกลุ่มที่พบได้แก่ แม่ครัว ช่างทำผม แม่บ้านทำความสะอาดกวาดบ้าน หรือคนทำงานในออฟฟิศที่ต้องรับโทรศัพท์ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม การขาดวิตามินบี จะมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดมือชาได้

          ทั้งนี้ อาการจะเริ่มชาที่ฝ่ามือและนิ้วมือ ในขณะที่ใช้มือทำงานอย่างต่อเนื่อง และถ้าเป็นมากอาจมีอาการชาจนเป็นเหน็บในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน และมีอาการปวดตอนกลางคืนจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก เพื่อขยับมือหรือบีบนวดฝ่ามือ และถ้าปล่อยไว้นานจะมีอาการอ่อนกำลังของมือ หยิบจับสิ่งของแล้วร่วงหล่น จนถึงขั้นมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือในที่สุด

 

 สาเหตุของมือชา ส่วนมากเกินจากการหนาตัวของเอ็นยึดกระดูกบริเวณข้อมือ หรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือ เอ็นนี้จะไปกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ การเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ ทำให้เกิดการระคายมากขึ้น

          สำหรับการดูแลป้องกันต้องเริ่มจากการลดการใช้งานข้อมือที่ทำงานหนัก ๆ ปรับท่าทางการทำงานของมือให้เหมาะสม ระหว่างการทำงาน ข้อมือจะต้องไม่งอมากจนเกินไป ควรใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ข้อมือมีที่พัก เมาส์ที่ใช้ก็ต้องมีขนาดพอดีมือ ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้ข้อมือเกร็งมากขึ้น

          การรักษา ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง จะให้ยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นและเส้นประสาท การให้วิตามินบี จนถึงขั้นสุดท้ายคือ การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น ฉะนั้นการดูแล ป้องกัน และถนอมข้อมือ เพื่อให้เราได้ใช้งานนาน ๆ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ การใช้งานข้อมือที่ผิดท่า ผิดวิธี อาจนำมาซึ่งการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น

ที่มา www.kapook.com