SELECT autopage4_data_topic.IdTopic , autopage4_page_topic.DataDetail , autopage4_page_topic.TitleDetail FROM autopage4_page_topic INNER JOIN autopage4_data_topic ON autopage4_data_topic.IdTopic = autopage4_page_topic.IdTopic AND autopage4_data_topic.IdTopic = 999

แคดเมียมในปลาสวาย


แคดเมียมในปลาสวาย

 

 

ปลาสวาย ปลาน้ำจืดอีกชนิดที่คนไทยนิยมทาน ส่วนใหญ่มาจาก 2 แหล่ง คือ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่จับได้ตามทุ่ง หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และปลาที่เลี้ยงในบ่อ

การเติบโตของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ อาจทำให้ข้าวปลาอาหารที่เรากินกันทุกวันนี้ปนเปื้อนมลพิษ เช่น โลหะหนักที่อันตราย

แคดเมียม เป็นโลหะหนักที่พบในสีย้อมผ้า แพร กระดาษ หมึกพิมพ์ หรือสีที่ใช้ทำภาชนะเคลือบ เมื่อแคดเมียมถูกปล่อยหรือปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ อาจทำให้ปลาทั้งที่เลี้ยงตามธรรมชาติ และปลาที่เลี้ยงในบ่อปนเปื้อน แคดเมียม ได้

ปลาจะปนเปื้อนแคดเมียมได้จาก 2 ทาง คือ จากอาหารที่ปลากินและจากแหล่งน้ำที่ปลาอาศัยอยู่ โดยปลาจะดูดซึมแคดเมียมเข้าทางผิวหนังและเหงือก เมื่อเราได้รับแคดเมียมจากปลา แคดเมียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในไตเป็นหลัก จะเป็นพิษต่อไต และเป็นสาเหตุของโรคอิไต อิไต

นอกจากนี้ แคดเมียม จะเข้าไปรบกวนระบบหมุนเวียนและดูดซึมของวิตามินดี แคลเซียม และคอลลาเจนในร่างกาย ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกน่วม และเป็นพิษต่อกระดูก ทำให้กระดูกกร่อน กระดูกผุ

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างปลาสวายสดที่เลี้ยงในบ่อเลี้ยงในลักษณะฟาร์มใน จ.สุพรรณบุรี และจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน 6 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของ แคดเมียม

ผลปรากฏว่า พบ แคดเมียม ปนเปื้อนใน 1 ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ปลาสวายที่ได้จากการเลี้ยงในฟาร์ม

วิธีลดการปนเปื้อนแคดเมียมในปลาที่เลี้ยงในบ่อได้คือ เมื่อจับปลาหมดบ่อแล้ว เกษตรกรควรตากบ่อเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจมีอยู่ในบ่อ และควรขุดดินออกจากบ่อ ก่อนเลี้ยงปลาในรอบต่อไป เพราะการใช้กังหันเพื่อเติมอากาศให้ปลาที่เลี้ยงในรอบต่อไป จะเหมือนเป็นการไปกวนให้แคดเมียมที่อาจปนเปื้อนอยู่ในดินกระจายตัวขึ้นมา และมีโอกาสปนเปื้อนในปลาได้มากขึ้น

หากผู้เลี้ยงปลาปฏิบัติตามวิธีข้างต้นได้อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ ปลอดภัยจากอันตรายของ แคดเมียม อย่างแน่นอน

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ